การพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยตัวเอง

“สุขภาพจิตของตัวเองถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราจะต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนจึงแบ่งปันสู่คนอื่นได้ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม รวมถึงต้องสามารถเผชิญกับปัญหาและความจริงของชีวิตได้ดี มีภูมิคุ้มกัน เมื่อนั้นเราก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี”

Attractive woman holding her head

“สุขภาพจิตใจ” เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ฉะนั้น การ “ส่งเสริมสุขภาพจิต” จะช่วยให้คนในสังคม ปรับชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งการเรียน การทำงาน สังคม ความคิด และอารมณ์ ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชได้ โดย ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายหลักการส่งเสริมสุขภาพจิตให้ฟังว่า สามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุปัญหาสุขภาพจิต ดังนี้

  1. การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรงปราศจากโรคด้วยการออกกำลังกาย
  2. การส่งเสริมทางจิตใจ เช่น การฝึกสู้ปัญหาให้เกิดความเคยชิน ไม่หลบเลี่ยง พัฒนาตนเองให้ปรับตัวได้มากขึ้นเมื่อพบปัญหา มองโลกในแง่บวก สนุกไปกับการเปลี่ยนแปลง หาทางแก้ปัญหาอย่างท้าทายและลงมือแก้ไขที่สาเหตุ หรือไม่ก็หากิจกรรมสร้างความสุขคืนความสงบให้กับตัวเอง การมีความสุขจากการเป็นผู้ให้ก็ย่อมทำได้เช่นกัน นอกจากนี้ การมีที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้และให้คำแนะนำ ก็ช่วยให้หลายคนห่างไกลจากการป่วยด้านสุขภาพจิตได้

3.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเอง  ด้วยบรรยากาศผ่อนคลาย เน้นสงบปราศจากสิ่งเร้า ที่สำคัญควรจัดแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนหย่อนใจให้สมดุลกัน เช่น ทำงาน  8 ชั่วโมง พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย 8  ชั่วโมง อีก 8 ชั่วโมงที่เหลือคือเวลานอน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่

แต่ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขที่สาเหตุได้ ยังมี “เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง” เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผศ.นพ.พนม แจงว่า สามารถทำได้ผ่านการ ฝึกสมาธิ สติ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  การฝึกลมหายใจ (breathing exercise) เล่นกีฬาที่ได้ระบายอารมณ์แต่มีกติกาปลอดภัย นวดกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็งปวดให้คลายออก ช่วยให้ความเครียดลดลง โดยผู้นวดต้องได้รับการฝึกอย่างดี การไปพักผ่อนในที่ผ่อนคลาย หรือการฟังดนตรีนุ่มนวลจังหวะไม่เกิน 60 ครั้งต่อนาที ไม่ควรมีเนื้อร้อง และควรเป็นเสียงธรรมชาติ การทำงานศิลปะต่างๆ ก็สามารถทำให้ผ่อนคลายได้เช่นกัน

“อีกวิธีหนึ่งคือการฝึกประสาทอัตโนมัติ ซาวน่า  โดยการแช่ในน้ำเย็นจัดสลับกับการอบไอน้ำร้อนจัด อย่างละ  10-20  นาที เพื่อให้ประสาทอัตโนมัติเกิดการเปลี่ยนแปลงตามอย่างรวดเร็ว  แต่วิธีนี้ควรทำเมื่อร่างกายแข็งแรง” ผศ.นพ.พนมกล่าวกำชับ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวโดยสรุปว่า การเรียนรู้เตรียมตัวและฝึกฝนให้เผชิญกับชีวิต สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ผ่านความสุขแบบพอเพียงตามแนวคิดโครงการ Happy Workplace โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้พัฒนาเป็นบุคลิกภาพที่ดี มีสุขภาพจิตที่ดี  ในอนาคต ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และมีความสุขในการดำเนินชีวิตสืบไป

ความสามารถในการจัดการด้านอารมณ์ของตนเอง

crying-babyอารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่เราสามารถรู้สึกถึงสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่แวดล้อมเราอยู่ได้ เช่น อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นภาษาหรือคำพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง  แต่อาจเกิดความสับสนในการตีความหมายได้เพราะสังคมแต่ละแห่งอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน อารมณ์ทุกอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยอารมณ์ในแง่ลบ เช่น อารมณ์โกรธและอารมณ์เศร้าที่มักทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลมาก ดังนั้นบุคคลจึงควรที่จะสำรวจตัวเองและยอมรับว่าตนเองกำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์อะไร และฝึกหัดที่จะระบายและควบคุมตัวเองได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ หรือรู้จักที่จะยับยั้งหรือควบคุมอารมณืที่ไม่เหมาะสมให้ได้

การเข้าสู่สถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์จะทำให้รู้สึกตึงเครียดจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ การฝึกการผ่อนคลายจะทำให้รู้สึกว่าสามารถใช้ความคิดพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น มองในมุมที่เป็นบวก ใช้เหตุผลให้มากขึ้นในการแสดงออก เมื่อตั้งสติได้และรู้สึกว่าเรากำลังถูกเร้าด้วยอารมณ์ การผ่อนคลายตนเองที่ดีคือการดึงความสนใจของตัวเราเองออกจากสิ่งที่กำลังเร้าอารมณ์เรา เพราะอารมณ์ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งส่งผลต่อผู้อื่นด้วย การจัดการกับอารมณ์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วย วิธีการและเทคนิคต่างๆ เช่นการควบคุมอารมณ์ทางลบให้มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ถือเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถทางอารมณ์ที่มีความจำเป็นในการใช้ชีวิต และส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตด้วย

การควบคุมอารมณ์เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอารมณ์ในทางลบ เช่น ความโกรธ ฉุนเฉียว อารมณ์ทุกอย่างเกิดขึ้นกับเราได้ แต่มิใช่จะแสดงออกไปทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา ผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ย่อมสามารถควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมตามแต่สถานการณ์ รู้จักระบายอารมณ์ออกในรูปแบบที่เหมาะสม การมองสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในทางบวก รู้จักมองบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแง่มุมอื่นที่ต่างไปจากเดิม ฝึกตนเองให้มีอารมณ์ขัน การฝึกคิดหรือมองสิ่งต่างๆในหลายๆแง่มุมจะทำให้เราไม่ติดกรอบหรือติดกับมายาคติที่สร้างขึ้น

พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์

พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์ ที่ควบคู่มากับการพัฒนาการทางร่างกาย มนุษย์แต่ละคนที่เกิดขึ้นมาควรมีโอกาสได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ ให้เต็มศักยภาพที่ได้รับมาตามธรรมชาติ อะไรที่เป็นธรรมชาติเรายังมีความสามารถไปแก้ไขได้น้อยมากในขณะนี้ เช่น พันธุกรรมด้านต่างๆที่ติดตัวมาเนื่องจากได้ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของตน เช่น สีผม รูปร่าง ความฉลาด โรคบางชนิด แต่ส่วนที่เราสามารถทำได้ดีคือ ส่วนที่เป็นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้วโดยจัดสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมที่สุดที่เด็กจะพัฒนาไปอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อตนเอง และสังคมส่วนรวมต่อไป

พัฒนาการที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกัน จิตพยาธิสภาพ (psychopathology) ต่างๆ ได้มากมาย 1เช่น บุคลิกภาพปรวนแปรต่างๆที่มีความร้ายแรงไม่แพ้โรคร้ายๆทางกาย คล้ายโรคมะเร็ง เบาหวานและโรคอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอต้องพึ่งพิงผู้อื่นเสมอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้เอง อารมณ์ปรวนแปรเสมอ ก็มีสภาพไม่ต่าง

กับผู้ที่มีโรคร้ายที่ทำให้เป็นอัมพาตจนเดินไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ป่วยทางใจแบบนี้ก็เปรียบเสมือนมีอาการ “อัมพาต” ทางจิตคือ ร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวัย แต่กลับต้องเป็นภาระของผู้อื่นอีก ฉะนั้น พัฒนาการทางจิตใจที่ดีจึงจะช่วยให้คนๆ นั้นเติบโต มาแล้วมีความปกติสุขต่อไป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางจิตใจ

เมื่อแรกเกิดมนุษย์มีสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย2,3 ต่างจากสัตว์โลก อื่นหลายชนิด เช่น เต่าออกจากไข่จะสามารถคลานลงทะเลไปหากินเองได้เลยโดยไม่ต้อง พึ่งพ่อแม่ สภาพช่วยตัวเองไม่ได้ของทารกนี่เองที่ทำให้พัฒนาการของมนุษย์เราขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมมาก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีที่เหมาะสม

ถึงอย่างไรก็ตามปัจจัยทางชีวภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ก็ยังเป็นรองกว่าปัจจัยจาก สิ่งแวดล้อม เนื่องจากพัฒนาการทางจิตใจมีปัจจัยหลายอย่างมาก แต่พอจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ

1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) คือสิ่งที่ติดตัวเด็กมาแต่ แรกเกิด

2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) สิ่งแวดล้อมคือ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กมาปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและพัฒนาตนเอง จนกระทั่งมี ลักษณะเฉพาะของตัวเอง

พัฒนาการทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คนเราเป็นคนที่มีคุณภาพดี มีจิตใจปกติ สามารถมีความสุข มีความรับผิดชอบ ปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆ สามารถทำหน้าที่ของตนได้ในครอบครัวและสังคมที่ตนอยู่ อีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พัฒนาการที่ดีต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวภาพของเด็กกับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา

ผู้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของตนที่จะช่วยพัฒนาเด็ก และป้องกันปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ หรือเมื่อพบว่ามีความเบี่ยงเบนของพัฒนาการก็ควรรีบแก้ไข ทำเองหรือขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เด็ก หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรการป้องกันย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อนเสมอ

แนวทางการพัฒนาคุณภาพจิตใจ

ชีวิตจะมีความสุขอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตปัญญาและคุณภาพจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยการคิดทบทวน ไตร่ตรองเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือการเห็นหรือซึมซับจากประสบการณ์ของคนอื่น การจะพัฒนาจิตใจได้จะต้องมีการฝึกฝน ปฏิบัติ โดยสามารถกระทำได้ดังนี้

– ทบทวนตนเอง มีเวลาอยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง ทำให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าความหมายของชีวิตและมีความสุขกับคุณค่าของชีวิตที่เป็นอยู่

– การปล่อยวาง นั้นเป็นเรื่องของการทำจิตเพื่อไม่ให้ทุกข์ใจเข้าใจความจริงของชีวิต

– ควบคุมและจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง จากการทำงานที่ต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์รุนแรงของผู้อื่น ความกดดันจากการทำงาน ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต

– การได้สัมผัสและซึมซับความทุกข์ ความทุกข์ทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและเรียนรู้ซับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นแรงขับที่ทรงพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิธีคิดหรือเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาจิตปัญญาได้อย่างรวดเร็ว

– การศึกษาธรรมหรือปฏิบัติธรรม เพราะการยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มีการพัฒนาจิตใจและปัญญาได้อย่างมั่นคง

– การมีสติกับการใช้เทคโนโลยี โดยอย่าให้เทคโนโลยีเข้ามากระชากสติของเราไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ก็ตาม

– การเจริญสติและการฝึกวิปัสสนา เป็นการฝึกให้เกิดสติอย่างต่อเนื่อง เพราะการเจริญสติอย่างต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายและจิตใจ สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคได้หลายอย่าง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจิตใจ ทำให้ผู้เจริญสติมีจิตใจที่สงบสุข เยือกเย็น อิ่มเอิบและแจ่มใสส่งผลดีต่อร่างกายและการทำงานของสมอง เมื่อระบบประสาทผ่อนคลายก็จะสามารถลดความตึงเครียดได้ และสามารถปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น การเจ็บป่วยทางกายก็จะเกิดน้อยลง

จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพจิตใจนั้นสามารถกระทำได้อย่างง่ายโดยต้องเริ่มจากตนเองเสียก่อน เพราะสภาพจิตใจที่เป็นสุขสามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต อีกทั้งวางตัวได้อย่างเหมาะสมและปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกายได้อีกด้วย

การใช้สมาธิในการขจัดความเครียด

      

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนหรือสังคมใด  คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ  โดยที่ความเครียดจะฟ้องออกมาทางร่างกายด้วยอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง  ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์  หงุดหงิดง่าย ว้าวุ่นใจ ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้ที่มีความเครียดสูงเป็นเวลานานจะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ทำให้ความรับผิดชอบต่อการงาน ครอบครัวและสังคมลดลง มีโอกาสที่จะติดยาและสารเสพติดได้ง่าย  เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีแนวทางประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุข ความราบรื่นในงาน ในครอบครัวและในสังคมรอบข้างอย่างครบถ้วนด้วยกัน คือ

1.การมีสติ เป็นการพัฒนาฝีมือของเราขึ้นมาก หากแม้จะไม่สงบก็ลดความฟุ้งซ่านได้

2.การใช้สมาธิ อย่างเช่น เมื่อรู้สึกเหนื่อยจากการทำงาน งานก็จะผิดพลาดเป็นประจำ คิดอะไร เขียนอะไร จำอะไรก็ไม่ดี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ต้องใช้ความอดทน การนั่งเฉย ๆ แล้วเอาจิตมาผูกกับลมหายใจ เพียงแต่รับรู้ลมหายใจเข้าออกต่อเนื่อง ตามลมหายใจ ความคิดก็ค่อย ๆ ก็สามารถช่วยให้การทำงานนั้นลดการผิดพลาดลงได้

3.การอยู่กับปัจจุบัน โดยแบ่งความสุขไปยังทุกคนในที่ทำงานทุกทิศทุกทาง ทำความรู้จักกับลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ใครที่ทำให้ตนเองทุกข์ใจ ร้อนใจ ขัดเคืองก็ให้อภัยเขา ไม่เอามาคิด ที่จะทำให้ใจของเราเป็นสุข

4.การปล่อยวาง โดยการไม่จมอยู่กับงานนั้นๆจนเกินไป ไม่หมกมุ่นอยู่กับอดีตที่ผ่านไป

5.การสวดมนต์ จะทำให้จิตใจของเรายึดมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นการฝึกจิตให้สงบและมีสมาธิ เชื่อว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในร่างกายและสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

จะเห็นได้ว่า การใช้สมาธิในการขจัดความเครียดสามารถกระทำเองได้โดยไม่ต้องลงทุนอีกด้วย ทั้งยังมีมีประโยชน์ตัวเราเองที่จะทำมีความสุข ความสัมพันธ์กับเพื่อนรอบข้างก็ดี การทำงานก็ประสบความสำเร็จอีกทั้งยังมีคุณค่าต่อสังคมด้วย

การบริหารจิตใจให้แน่วแน่มั่นคงและเจริญปัญญา

20100003_13022115150035_237
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ควรเข้าใจกฏเกณฑ์และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะชีวิตเรากับธรรมชาติที่แวดล้อมล้วนแต่มีคุณค่าที่เท่าเทียมกันจึงควรสนใจศึกษาให้ถ่องแท้โดยไม่ต้องไปสนใจกับพวกลาภยศชื่อเสียง ซึ่งเปรียบประดุจความฝัน มันไม่ใช่เรื่องจริงจังอะไรที่เราจะไปหมายมั่นยึดถือเป็นเจ้าของ การฝึกจิตปฏิบัติธรรมนอกจากเรามีสติแล้วจะต้องมีสัมปชัญญะด้วย คือการมีความรู้สึกตัวทั่วถึงว่าในขณะนั้นๆกำลังทำ พูดหรือคิดอะไรเป็นการรู้เท่าทันการณ์แล้วพิจารณาว่าจะเอาไว้หรือสลัดออกไปจากจิต เพราะการดำเนินชีวิตต้องประพฤติธรรมไปด้วยเพื่อเวลาที่เราฟังอะไรจะได้ยิน ดูอะไรจะได้เห็น ไม่ปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ เมื่อเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ย่อมแลเห็นความงดงาม ความอัศจรรย์ใจซึ่งประจักษ์อยู่ต่อหน้าเรา

พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการกระทำทุกอย่างจะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิตจึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา การบริหารจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคงโดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้นผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคง

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

1.การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ คือผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ
2.การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง คือพยายามเข้าสมาคมกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคงด้วยการทำ การพูด และการแสดงออกอื่นๆ
3.การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วน คือคนใดที่มีสติฟั่นเฟือน หลงๆ ลืมๆ ซึ่งมีการกระทำการพูดผิดๆ ถูกๆ อยู่ตลอดนั้น
4.การมีใจน้อมไปในการมีสติ คืออยากเป็นคนมีสติมั่นคงโดยตัวเราเองต้องพยายามขวนขวายปลุกใจให้เห็นคุณค่าในการมีสติสัมปชัญญะแล้วปฏิบัติธรรมเพื่อนำจิตของตนให้เป็นสมาธิ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความเครียด

4

สุขภาพจิตใจเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขการส่งเสริมสุขภาพจิตใจช่วยให้ปรับตัวในชีวิตให้เป็นประโยชน์ ทั้งการเรียน การทำงาน สังคม ความคิดและอารมณ์เป็นปกติ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ วางตัวได้อย่างเหมาะสม และปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกาย

ชีวิตคนตั้งแต่เกิดมาต้องมีการปรับตัวให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิตความเครียดคือผลรวมของปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์ต่างๆ ความเครียดที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวแก้ไขปัญหาเกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์แต่ความเครียดที่มากเกินไปเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เกิดความไม่สบายใจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทำให้ปรับตัวไม่ได้แก้ไขปัญหาได้ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงหรือเกิดโรคทางร่างกายหลายโรคที่อาการเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียดความเครียดจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนจะต้องเผชิญและฝึกฝนเอาชนะ แก้ไขปัญหาไม่เกิดอาการของความเครียดคนที่สุขภาพจิตดีคือคนที่มีวิธีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆหรือความเครียดได้ดี

คนสุขภาพจิตไม่ดีเมื่อเผชิญปัญหาในชีวิตจะเกิดอาการต่างๆทางจิตใจ อารมณ์ แสดงพฤติกรรมบางอย่างหรือปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายซึ่งแสดงภาวะไม่สมดุล บางคนอาจมีอาการแสดงออกมาเล็กน้อย เรียกว่าปัญหาสุขภาพจิตหรือมีมากจนเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่าโรคทางจิตเวชอาการทางอารมณ์ความเครียดทำให้ทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกวิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ไม่สบายใจ บางคนมีอารมณ์ซึมเศร้าท้อแท้ร่วมด้วย เบื่อ หงุดหงิด ไม่สนุกสนานสดชื่นร่าเริงเหมือนเดิม อารมณ์ซึมเศร้ามักเกิดร่วมกับการสูญเสียหรือพลาดหวังอย่างรุนแรง อารมณ์ไม่สบายใจเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆตามมา ได้แก่ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เพลีย เหนื่อยง่าย เหนื่อยหน่าย อาการทางจิตใจความคิดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ คิดไม่ดีคิดร้ายความคิดกังวลล่วงหน้าย้ำคิดย้ำทำ ไม่สามารถหยุดความคิดตนเองได้ความคิดควบคุมไม่ได้  คิดมาก มองตนเองไม่ดี มองคนอื่นไม่ดี มองโลกในแง่ร้าย ความเครียดถ้ามีมากและต่อเนื่องจะทำให้สมองมึน งง เบลอ ขาดสมาธิ ความคิดความอ่านและความจำลดลง การตัดสินใจช้า ไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตนเอง

การจัดการกับความเครียด ด้วยการพัฒนาจิตใจ

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ โดยคนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ ซึ่งความเครียดโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เป็นต้น ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์ หงุดหงิดง่าย ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้โดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างอีกด้วย รวมทั้ง ปัญหาของสังคม และอื่นๆด้วย เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจนั้นเป็นไปอย่างซับซ้อน ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ rhinovirus ทำให้เป็นหวัดได้ง่ายผู้ที่มีความโกรธบ่อยๆ ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้จิตใจของทุกคนเป็นเสมือนพลังงานทั้งในแง่ดีและร้าย ครอบครัวที่มีความขัดแย้งทำให้เกิดลูกที่มีปัญหา สังคมที่มีความเครียดสูงเป็นสังคมที่ขาดความสุขฉะนั้นแล้วหนทางสู่ความสุขด้วยการพัฒนาตนเองมีด้วยกันดังนี้
– การมีจิตสำนึกแห่งการพัฒนาตนเองผู้ที่ต้องการพัฒนาตนจะเตือนตนด้วยเสียงของมโนสำนึกภายในใจและแสวงหาคุณค่าทางจิตใจที่สูงกว่าคุณค่าของวัตถุ ไม่ปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามกระแสความต้องการทางวัตถุ
– มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะกับการงานจะต้องมีสุขภาพที่ดี
– รู้จักความรักและการให้อภัย โดยฝึกการยอมรับในความแตกต่าง และตระหนักในคุณค่าของชีวิตผู้อื่นเช่นเดียวกับตนเอง มีความรักและเคารพในความเป็นชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
– มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยการทบทวนอดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน และวางแผนต่ออนาคตเพื่อให้สามารถก้าวเดินได้ไม่ผิดพลาด
– แบ่งปันรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ การยิ้มแต่ละครั้งทำให้กล้ามเนื้อนับร้อยมัดบนใบหน้าผ่อนคลาย
– ความสุขที่แท้คือความสงบซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมของจิตอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับความรัก
– รู้จักปล่อยวาง กับปัญหาต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเครียด
ดังนั้นหากการปล่อยให้การพัฒนาการของจิตใจหยุดลงไปนั้น ก็จะทำให้สุขภาพเรานั้นย้ำแย่ลงไปด้วย ทั้งนีทั้งนั้นควรจะใส่ใจกับสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้มีความสุขทั้งกายและใจ

 

 

องค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้นมาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่

30

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายคนคงเข้าใจว่าเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาทักษะและการพัฒนาความสามารถ ของพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น โดยอาศัยผ่านระบบการศึกษา การพัฒนา และการฝึกอบรม ซึ่งเป็นการพัฒนาในระยะสั้นๆ เท่านั้นเองปัจจุบันองค์การถูกท้าทายด้วยระบบโลกาภิวัฒน์ อันนำมาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และการเอารัดเอาเปรียบทุกรูปแบบเพื่อชัยชนะในด้านต่างๆ จึงส่งผลทำให้ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่ภายใต้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ด้านบุคลากรในองค์การเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การบริหารงานเชิงกลยุทธ์นั้นผู้บริหารต้องเริ่มต้นจากการ ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ขององค์การที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียนประการที่สองวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การทั้งภายนอกและภายใน ประการที่สามสร้างวิสัยทัศน์ใหม่และพร้อมทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ ประการที่สี่ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมองบุคลากรเป็น Assets ให้เป็นการ Human Capitals ประการที่ห้าต้องปรับกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ ประการที่หกผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยน บทบาทใหม่จากที่เคยสั่งการ ถือระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ให้กลายมาเป็นผู้บริหารแบบสร้างการเปลี่ยนแปลง เน้นการสร้างความยืดหยุ่นการทำงานอย่างเป็นระบบ ประการที่เจ็ดนำแนวทางทั้ง 6 ประการข้างต้นมาบูรณาการและสร้างโมเดลใหม่ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ จากการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ทั้ง 7 ประการ เป็นเพียงบันไดขั้นต้นเท่านั้นในการที่จะทำให้องค์การเกิดผลลัพธ์ที่ดีในปัจจุบันและในอนาคต

ดังนั้น ผู้บริหารองค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้น มาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ โดยที่ผู้บริหารและองค์การต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน และหากเป็นเช่นนี้แล้ว การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่จึงจะต้องเริ่มต้นจากการการพัฒนาบุคลากรใน 3 มิติ ได้แก่ มิติแรก การพัฒนาทัศนคติ (Attitude) คือ การทำให้บุคลากรเปลี่ยนวิธีคิด และการทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ มิติสอง การพัฒนาลักษณะนิสัย (Traits) คือ ทำให้บุคลากรมีความรักความผูกพันกับองค์การ มิติสาม การพัฒนาการจูงใจ(Motivation) คือ การสร้างแรงจูใจให้กับบุคลากรทั้งในรูปของเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการ และตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ฯลฯ

ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย

30

การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและโลกไร้พรมแดน  ยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน  เร่งรีบ  การเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่และวิทยาการต่าง ๆ   ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีขึ้น และบางส่วนส่งผลให้สังคมขาดสันติสุข หากนักศึกษาได้มีเวลาสักช่วงหนึ่งของชีวิตที่สำรวจตรวจสอบ   แสวงหาคำตอบเรื่องแก่นแท้แห่งพฤติกรรมเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นอันจะนำไปสู่นวทางพัฒนาตน  อาจจะเป้นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยดำรงตนตามบทบาทต่าง ๆ ได้โดยเหมาะสม ช่วยให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นทั้งในด้านชีวิตการเรียน  การทำงาน และชีวิตส่วนตัว ในบทที่ว่าด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนนี้ ประกอบด้วยขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรม  เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม จุดประสงค์ของการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน  ศาสตร์ที่ให้ความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีการศึกษาพฤติกรรม การเก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา  แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน และข้อควรคำนึงใน การนำความรู้เรื่องพฤติกรรมไปพัฒนาตน  เพื่อเป็นบทนำพื้นฐานสู่การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนในบทอื่นต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถดังนี้

เข้าใจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย ตระหนักในความสำคัญ  และเข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาพฤติกรรมวิเคราะห์ที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีศึกษาพฤติกรรมและนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และระบุแนวทางการประยุกต์ใช้แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อพัฒนาตน  รวมทั้งสามารถนำความรู้และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ความรู้ไปวางแผนพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธ์กัน  โดยพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น คนเราย่อมพูดหรือย่อมแสดงกิริยาโดยสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดภายใน ถ้าต้องการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ “จิตใจ” หรือพฤติกรรมภายในของคนก็ต้องศึกษาจากส่วนที่สัมผัสได้ชัดแจ้งคือพฤติกรรมภายนอกซึ่งเป็นแนวทางสู่ความเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นความในใจและการจะเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แสดงออกอันเป็นพฤติกรรมภายนอกเราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของการคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การรู้สึก ฯลฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน

การพัฒนาตนเองเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้า

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน…. แม้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และการเปลี่ยนแปลงเองก็ย่อมส่งผลกระทบในทางใดทางหนึ่ง ในระยะสั้นหรือระยะยาวหรือไม่ช้าก็เร็วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่การเปลี่ยนแปลงนำพ่วงติดมาด้วยก็คือ สัญญาณเตือนเพื่อให้บุคลากรในองค์การต้องเร่งปรับตัวบางประการ อันได้แก่ 1) ปรับใจ โดยต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความไม่มั่นคงในอาชีพข้าราชการ ซึ่งคนทำงานภาคเอกชนได้ประสบมาแล้วในช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจหมายความว่า บุคลากรในองค์การควรเตรียมพร้อมสำหรับการออกจากงาน การโยกย้ายไปประจำหน่วยงานอื่น การเปลี่ยนตำแหน่ง การทำงานโดยมีเป้าหมายผลงาน การปรับให้เป็นข้าราชการกึ่งประจำ หรือการทำงานในรูปของสัญญาและการทำงานบางส่วนของเวลา ซึ่งล้วนส่งผลกระทบถึงรายได้ประจำที่เคยได้รับทั้งสิ้น 2) ปรับตัว การทำงานยุคใหม่ต้องการความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันไปจากเดิมคือต้องมีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ข่าวสารและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถในการสื่อความ มนุษยสัมพันธ์ และความเป็นผู้นำตลอดจนการติดตามวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบอยู่ในลักษณะการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) ปรับทัศนคติ เช่น ข้าราชการจำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าการทำราชการเป็นงานมั่นคง ข้าราชการคือคนที่มีพื้นฐานอำนาจรัฐสนับสนุน การมีตำแหน่งหน้าที่เจริญก้าวหน้าในงานเป็นเป้าหมายของอนาคตของข้าราชการ หรือความคิดเรื่องการทำงานในสำนักงานโดยมีเวลากำหนดที่แน่นอน เช่น 8.30-16.30 และมีสถานที่ทำงานที่แน่นอน การเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการพัฒนาตนเอง (Self-Development) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีลักษณะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์

การพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ซึ่งการจะบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาตนเองได้ย่อมต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ รวมทั้งการจัดหรือควบคุมตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีความเชื่อในตนเองว่ามีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายประสงค์หรืออุดมการณ์แห่งตนได้ ย่อมจะพบกับความเจริญงอกงามได้ไม่ยากนัก การพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เพียงแต่การทำให้พฤติกรรมที่มีปัญหาหมดไปเท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์ในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อที่จะมีอิสระที่จะเลือกทำพฤติกรรมเพื่อสิ่งที่สุดของตน โดยการพัฒนาตนเองมีความสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ 1) เพื่อที่จะได้รู้จักตนเองตรงตามความเป็นจริง ทั้งส่วนที่เป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง อันจะนำไปสู่การขจัดความรู้สึกที่ขัดแย้งภายในตัวบุคคลออกไป ก้าวมาสู่การยอมรับตนตามสภาพความเป็นจริง 2) เพื่อพร้อมที่จะปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น โดยการสร้างคุณลักษณะที่มีประโยชน์และลดหรือขจัดคุณลักษณะที่เป็นโทษกับชีวิตและสังคม ทั้งนี้เป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ 3) เพื่อวางแนวทางในการที่จะพัฒนาชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ ความเชื่อพื้นฐานของบุคคลในการพัฒนาตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ

ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติในการพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

การรู้เท่าทันเทคโนโลยี คือ การรู้จักเทคโนโลยีตามความเป็นจริงทั้งคุณและโทษ เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สาระสำคัญของการศึกษาเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือสร้างสรรค์ ใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม เพียรพยายามนำเอาความรู้มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะให้ประโยชน์สุขที่แท้จริง ที่เกื้อกูลแก่ชีวิต สังคม และระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติทั้งหมด

สิ่งที่แสดงถึงความเจริญ หรือเครื่องหมายแห่งความเจริญของโลกหรือของมนุษย์ ก็คือ เทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องเน้น ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวเทคโนโลยีเอง ก็คือ ท่าทีและการปฏิบัติต่อเทคโนโลยี เพราะยิ่งความเจริญทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ก็มีสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้น นั่นคือ ภาระแก่สำหรับมนุษย์เอง ได้แก่ ภาระในการใช้และบำรุงรักษาซ่อมแซมแก้ไข ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความซับซ้อน มีความละเอียดอ่อนมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งสร้างเทคโนโลยีซับซ้อนสูง ยิ่งเจริญ ก็ยิ่งต้องการคนที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น เพื่อมาใช้ควบคุมเทคโนโลยีให้เป็นไปอย่างราบรื่นได้ผลดี คุณภาพของคนที่เราต้องการ คือ ทั้งคุณภาพด้านความชำนาญเฉพาะทาง มีความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค และคุณภาพด้านคุณธรรมในจิตใจ ความมีสติรอบคอบ ไม่ประมาท มีความรับผิดชอบ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความเมตตากรุณา เห็นคุณค่าชีวิตของผู้อื่น อยู่ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ไม่ทำลายคุณภาพชีวิต สังคม และธรรมชาติแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ จึงต้องมีการพัฒนาคนกันอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือพัฒนาคนให้เหนือกว่าการพัฒนาเทคโนโลยี

มนุษย์เราสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้น เพื่อการทำมาหากินและการต่อสู้ป้องกันภัย เราจึงใช้เทคโนโลยีใน 2 ลักษณะ ด้านหนึ่งเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต และอีกด้านหนึ่งเพื่อสนองความต้องการในทางเห็นแก่ตัวและทำลายกัน

ทำอย่างไรจะให้มนุษย์สร้างเทคโนโลยี ชนิดที่สร้างประโยชน์ในทางพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสให้เราสามารถพัฒนาตน เช่น ช่วยทุ่นเวลาและแรงงานของเรา ให้ทำงานเสร็จโดยง่ายและเร็วไว ให้เรามีเวลาและแรงงานเหลือ เพื่อจะได้เอาเวลาและแรงงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ ในการปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือธรรม แนะนำให้ความรู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเท่ากับว่า เทคโนโลยีจะสร้างโอกาสแก่เราในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น

สื่อสามารถเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

โลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยตามกาลเวลาตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงยุควิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือยุคไร้พรหมแดน ที่ทำให้ชีวิตของมนุษยชาติเปลี่ยนแปลไป เพราะชาวโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งจนทั่วทั้งโลกเสมือนเป็นชุมชนเดียวกัน คือชุมชนมนุษยชาติ

ดังนั้นโลกปัจจุบันติดต่อสื่สารกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายประกอบกับการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ทุกสังคม ทุกประเทศจึงต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ในทุกด้านเพื่อความอยู่รวดของสังคม และคนในสังคมนั้น เครื่องมือที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดและสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในสังคมอารยประเทศได้ คือการสร้างสังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ เมื่อสร้างปัญญาให้กับคนอันจะช่วยให้คนทุกคนพ้นจากความไม่รู้ ความลุ่มหลงมัวเมา และความยากจนข้นแค้น เพราะปัญญาที่เกิดจากการศึกษาและการเรียนรู้จะทำให้คนรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักคิด รู้จักทำและแสวงหาหนทางในการเลี้ยงชีพ และการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ในบรรดารูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นความประณีตละเอียดอ่อน

การเล่าเรื่องและการเรียนรู้จากเรื่องเล่าเป็นความสามารถที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ จึงสามารถเรียนรู้โลกจากการฟังเรื่องเล่ามาเนิ่นนานก่อนหน้าที่จะรู้จักตัวเลขและการคำนวณ อาจกล่าวได้ว่า สัญชาตญาณการเรียนรู้จากเรื่องเล่านี้เองที่ทำให้มนุษย์เข้าใจความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ซับซ้อนได้แตกต่างไปจากสัตว์

เพราะมนุษย์ทำความเข้าใจโลกผ่านเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเป็นสำคัญ โลกและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งจึงปรากฏในความรับรู้ของมนุษย์ในรูปของเรื่องราว

ในวัฒนธรรมต่างๆ มีเรื่องเล่ามากมายที่สังคมใช้บอกกล่าวเล่าความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการกำเนิดโลกและตำนานปฐมกาลในศาสนาต่างๆ หรือแม้แต่ทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ก็เป็นความพยายามที่จะบอกเล่าและเข้าใจโลกในฐานะของเรื่องราวที่มีจุดกำเนิด มีการคลี่คลายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนเป็นโลกที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

จารีตความรู้ต่างๆ ในอารยธรรมมนุษย์แต่ครั้งประวัติศาสตร์ก็อาศัยเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์ ตำนาน นิทาน หรือชาดก ในการปลูกฝังมโนทัศน์ ถ่ายทอดแง่คิด รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่มนุษยชาติมาโดยตลอด

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เรามักเชื่อกันว่ายึดถือความรู้ที่เน้นเฉพาะข้อเท็จจริงและการตรวจวัดในเชิงปริมาณ ก็ยังต้องเรียนรู้และถ่ายทอดความคิดผ่านเรื่องเล่า ดังเรื่องราวของกาลิเลโอผู้หย่อนวัตถุที่หนักเบาต่างกันลงจากหอเอนเมืองปิซา หรือนิวตันผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงเมื่อลูกแอ๊ปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ แม้ว่าเรื่องทั้งสองจะเป็นเพียงเรื่องเล่าลือที่ไม่เคยปรากฏมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่ถูกบอกเล่าเสมอในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดความอัศจรรย์ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการหาความรู้จากการทดลอง

วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วัดถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

รวมทั้งคนในชุมชนรอบๆ วัดยังใช้วัดเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น การประชุมหมู่บ้าน การประชุมราชการ หรือให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมไทย ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน หันไปยึดติดในวัตถุนิยมมากเกินไป เป็นผลให้คนห่างไกลจากวัดโดยไม่รู้ตัว วัดจึงได้ลดบทบาทจากในอดีตลงไปมาก วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์เป็นตัวแทนของวัดในการแสดงบทบาทต่างๆ เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ และการร่วมมือกันให้เกิดความสามัคคีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุกๆด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะการที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา

ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยจะมีวัดต่างๆมากมายที่เกิดจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย ทั้งนี้ก็จะเกิดทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ แต่ข้อเสียคือ ความขัดเเย้งของความคิดและวัฒนธรรมได้ ในฐานะที่เราเป็ทหารเราควรช่วยกันทะนุบำรุงรักษาวัดให้มั่นคงอยู่คู่กับคนไทยเพื่อให้คนไทยได้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งในยามทุกข์และยามสุข ดังนั้นวัดจึงเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมและสร้างวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมเป็นค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันมาอย่าช้านานซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมแทบทุกสังคมของคนไทยและกลายเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐานของคนไทย วัฒนธรรมจึงเป็นเสมือนบุคลิกภาพ และจิตวิญญาณของคนในสังคม

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ

1. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการลงมือปฏิบัติและเห็นผลจริง หลักธรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธสามารถนำไปปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
2. พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เข้ามามีบทบาทและผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธ เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การบวช การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
3. ผลจากการปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนที่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างก็ได้พบกับความสุขความเจริญในชีวิต ทั้งในด้านความสงบสุขทางกายและใจ และความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

การพัฒนาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจน้อย ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งในสังคมที่ไม่พึงปรารถนาหลายประการ จำเป็นจะต้องเน้นการพัฒนาจิตใจคนให้เป็นคนดี มีวินัย และคุณธรรม ตลอดจนอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้สมดุลกับการพัฒนาควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสที่ยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขโดยมีเป้าหมายพัฒนา

การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีจึงควรเน้นที่การพัฒนาจิตใจตนเองเป็นอันดับแรก

เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถจัดการชีวิตได้ดีเนื่องจากจิตใจที่ขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังแห่งความมุ่งมั่น ขาดกำลังใจจะไม่สามารถนำพาชีวิตไปให้ไกลได้ การพัฒนาจิตโดยการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่นคง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราอยู่ในสถานการณ์กดดัน อาทิเช่น ถูกติเตียน ดูถูก นินทา สบประมาท ฯลฯ และเราแก้ปัญหาด้วยการแสดงความน้อยใจ ผิดหวัง โกรธ  เกลียดหรือตอบโต้ด้วยการประชดชีวิต จะทำให้เราดำเนินชีวิตผิดพลาดจนได้รับเคราะห์กรรมได้

จิตเป็นตัวดำเนินงานและเป็นแรงงานสำคัญ

ถ้าจิตได้รับการอบรม การพัฒนาให้มีความฉลาดมีเหตุมีผล รอบคอบในสิ่งดีและชั่วทั้งหลายพอประมาณ ย่อมจะดำเนินกิจการต่างๆไปด้วยความราบรื่นดีงามไม่ค่อยผิดพลาด ผิดกับจิตที่ไม่ได้รับการอบรมการพัฒนาอยู่มาก การพัฒนาจิตก็เท่ากับการส่งเสริมความฉลาด รอบคอบในกิจการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ความเจริญทางจิตใจที่ได้รับการอบรมการพัฒนาย่อมเป็นผลดีกว่าความเจริญทางด้านวัตถุที่ไม่ได้พัฒนาจิตไปพร้อมกันอยู่มาก ดังนั้นการพัฒนาจิตเพื่อความรอบคอบในตนและกิจการทั้งหลาย จึงควรสนใจอย่างน้อยให้พอๆกันกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ

ปัจจุบันการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพัฒนาการด้านวัตถุอย่างเดียวก่อให้เกิดปัญหามากมายด้วยความเครียดและความเห็นแก่ตัวของบุคคลในสังคม เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาดังกล่าว จึงควรส่งเสริมให้ทุกคนพัฒนาจิตด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการพัฒนาจิตให้รู้เท่าทันโลก รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อันจะเป็นผลให้จิตบริสุทธิ์และเกิดปัญญา การฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองในด้านสติด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำจะทำให้นิสิตมีสติตั้งมั่น จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ และบันทึกเนื้อหาที่สำคัญของคำบรรยายไว้ได้เป็นอย่างดี