ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย

30

การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและโลกไร้พรมแดน  ยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน  เร่งรีบ  การเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่และวิทยาการต่าง ๆ   ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีขึ้น และบางส่วนส่งผลให้สังคมขาดสันติสุข หากนักศึกษาได้มีเวลาสักช่วงหนึ่งของชีวิตที่สำรวจตรวจสอบ   แสวงหาคำตอบเรื่องแก่นแท้แห่งพฤติกรรมเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นอันจะนำไปสู่นวทางพัฒนาตน  อาจจะเป้นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยดำรงตนตามบทบาทต่าง ๆ ได้โดยเหมาะสม ช่วยให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นทั้งในด้านชีวิตการเรียน  การทำงาน และชีวิตส่วนตัว ในบทที่ว่าด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนนี้ ประกอบด้วยขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรม  เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม จุดประสงค์ของการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน  ศาสตร์ที่ให้ความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีการศึกษาพฤติกรรม การเก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา  แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน และข้อควรคำนึงใน การนำความรู้เรื่องพฤติกรรมไปพัฒนาตน  เพื่อเป็นบทนำพื้นฐานสู่การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนในบทอื่นต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถดังนี้

เข้าใจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย ตระหนักในความสำคัญ  และเข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาพฤติกรรมวิเคราะห์ที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีศึกษาพฤติกรรมและนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และระบุแนวทางการประยุกต์ใช้แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อพัฒนาตน  รวมทั้งสามารถนำความรู้และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ความรู้ไปวางแผนพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธ์กัน  โดยพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น คนเราย่อมพูดหรือย่อมแสดงกิริยาโดยสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดภายใน ถ้าต้องการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ “จิตใจ” หรือพฤติกรรมภายในของคนก็ต้องศึกษาจากส่วนที่สัมผัสได้ชัดแจ้งคือพฤติกรรมภายนอกซึ่งเป็นแนวทางสู่ความเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นความในใจและการจะเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แสดงออกอันเป็นพฤติกรรมภายนอกเราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของการคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การรู้สึก ฯลฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน