การพัฒนาตนเองเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้า

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน…. แม้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และการเปลี่ยนแปลงเองก็ย่อมส่งผลกระทบในทางใดทางหนึ่ง ในระยะสั้นหรือระยะยาวหรือไม่ช้าก็เร็วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่การเปลี่ยนแปลงนำพ่วงติดมาด้วยก็คือ สัญญาณเตือนเพื่อให้บุคลากรในองค์การต้องเร่งปรับตัวบางประการ อันได้แก่ 1) ปรับใจ โดยต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความไม่มั่นคงในอาชีพข้าราชการ ซึ่งคนทำงานภาคเอกชนได้ประสบมาแล้วในช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจหมายความว่า บุคลากรในองค์การควรเตรียมพร้อมสำหรับการออกจากงาน การโยกย้ายไปประจำหน่วยงานอื่น การเปลี่ยนตำแหน่ง การทำงานโดยมีเป้าหมายผลงาน การปรับให้เป็นข้าราชการกึ่งประจำ หรือการทำงานในรูปของสัญญาและการทำงานบางส่วนของเวลา ซึ่งล้วนส่งผลกระทบถึงรายได้ประจำที่เคยได้รับทั้งสิ้น 2) ปรับตัว การทำงานยุคใหม่ต้องการความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันไปจากเดิมคือต้องมีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ข่าวสารและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถในการสื่อความ มนุษยสัมพันธ์ และความเป็นผู้นำตลอดจนการติดตามวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบอยู่ในลักษณะการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) ปรับทัศนคติ เช่น ข้าราชการจำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าการทำราชการเป็นงานมั่นคง ข้าราชการคือคนที่มีพื้นฐานอำนาจรัฐสนับสนุน การมีตำแหน่งหน้าที่เจริญก้าวหน้าในงานเป็นเป้าหมายของอนาคตของข้าราชการ หรือความคิดเรื่องการทำงานในสำนักงานโดยมีเวลากำหนดที่แน่นอน เช่น 8.30-16.30 และมีสถานที่ทำงานที่แน่นอน การเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการพัฒนาตนเอง (Self-Development) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีลักษณะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์

การพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ซึ่งการจะบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาตนเองได้ย่อมต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ รวมทั้งการจัดหรือควบคุมตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีความเชื่อในตนเองว่ามีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายประสงค์หรืออุดมการณ์แห่งตนได้ ย่อมจะพบกับความเจริญงอกงามได้ไม่ยากนัก การพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เพียงแต่การทำให้พฤติกรรมที่มีปัญหาหมดไปเท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์ในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อที่จะมีอิสระที่จะเลือกทำพฤติกรรมเพื่อสิ่งที่สุดของตน โดยการพัฒนาตนเองมีความสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ 1) เพื่อที่จะได้รู้จักตนเองตรงตามความเป็นจริง ทั้งส่วนที่เป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง อันจะนำไปสู่การขจัดความรู้สึกที่ขัดแย้งภายในตัวบุคคลออกไป ก้าวมาสู่การยอมรับตนตามสภาพความเป็นจริง 2) เพื่อพร้อมที่จะปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น โดยการสร้างคุณลักษณะที่มีประโยชน์และลดหรือขจัดคุณลักษณะที่เป็นโทษกับชีวิตและสังคม ทั้งนี้เป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ 3) เพื่อวางแนวทางในการที่จะพัฒนาชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ ความเชื่อพื้นฐานของบุคคลในการพัฒนาตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ

ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติในการพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

การรู้เท่าทันเทคโนโลยี คือ การรู้จักเทคโนโลยีตามความเป็นจริงทั้งคุณและโทษ เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สาระสำคัญของการศึกษาเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือสร้างสรรค์ ใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม เพียรพยายามนำเอาความรู้มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะให้ประโยชน์สุขที่แท้จริง ที่เกื้อกูลแก่ชีวิต สังคม และระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติทั้งหมด

สิ่งที่แสดงถึงความเจริญ หรือเครื่องหมายแห่งความเจริญของโลกหรือของมนุษย์ ก็คือ เทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องเน้น ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวเทคโนโลยีเอง ก็คือ ท่าทีและการปฏิบัติต่อเทคโนโลยี เพราะยิ่งความเจริญทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ก็มีสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้น นั่นคือ ภาระแก่สำหรับมนุษย์เอง ได้แก่ ภาระในการใช้และบำรุงรักษาซ่อมแซมแก้ไข ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความซับซ้อน มีความละเอียดอ่อนมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งสร้างเทคโนโลยีซับซ้อนสูง ยิ่งเจริญ ก็ยิ่งต้องการคนที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น เพื่อมาใช้ควบคุมเทคโนโลยีให้เป็นไปอย่างราบรื่นได้ผลดี คุณภาพของคนที่เราต้องการ คือ ทั้งคุณภาพด้านความชำนาญเฉพาะทาง มีความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค และคุณภาพด้านคุณธรรมในจิตใจ ความมีสติรอบคอบ ไม่ประมาท มีความรับผิดชอบ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความเมตตากรุณา เห็นคุณค่าชีวิตของผู้อื่น อยู่ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ไม่ทำลายคุณภาพชีวิต สังคม และธรรมชาติแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ จึงต้องมีการพัฒนาคนกันอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือพัฒนาคนให้เหนือกว่าการพัฒนาเทคโนโลยี

มนุษย์เราสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้น เพื่อการทำมาหากินและการต่อสู้ป้องกันภัย เราจึงใช้เทคโนโลยีใน 2 ลักษณะ ด้านหนึ่งเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต และอีกด้านหนึ่งเพื่อสนองความต้องการในทางเห็นแก่ตัวและทำลายกัน

ทำอย่างไรจะให้มนุษย์สร้างเทคโนโลยี ชนิดที่สร้างประโยชน์ในทางพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสให้เราสามารถพัฒนาตน เช่น ช่วยทุ่นเวลาและแรงงานของเรา ให้ทำงานเสร็จโดยง่ายและเร็วไว ให้เรามีเวลาและแรงงานเหลือ เพื่อจะได้เอาเวลาและแรงงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ ในการปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือธรรม แนะนำให้ความรู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเท่ากับว่า เทคโนโลยีจะสร้างโอกาสแก่เราในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น

สื่อสามารถเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

โลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยตามกาลเวลาตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงยุควิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือยุคไร้พรหมแดน ที่ทำให้ชีวิตของมนุษยชาติเปลี่ยนแปลไป เพราะชาวโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งจนทั่วทั้งโลกเสมือนเป็นชุมชนเดียวกัน คือชุมชนมนุษยชาติ

ดังนั้นโลกปัจจุบันติดต่อสื่สารกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายประกอบกับการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ทุกสังคม ทุกประเทศจึงต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ในทุกด้านเพื่อความอยู่รวดของสังคม และคนในสังคมนั้น เครื่องมือที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดและสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในสังคมอารยประเทศได้ คือการสร้างสังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ เมื่อสร้างปัญญาให้กับคนอันจะช่วยให้คนทุกคนพ้นจากความไม่รู้ ความลุ่มหลงมัวเมา และความยากจนข้นแค้น เพราะปัญญาที่เกิดจากการศึกษาและการเรียนรู้จะทำให้คนรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักคิด รู้จักทำและแสวงหาหนทางในการเลี้ยงชีพ และการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ในบรรดารูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นความประณีตละเอียดอ่อน

การเล่าเรื่องและการเรียนรู้จากเรื่องเล่าเป็นความสามารถที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ จึงสามารถเรียนรู้โลกจากการฟังเรื่องเล่ามาเนิ่นนานก่อนหน้าที่จะรู้จักตัวเลขและการคำนวณ อาจกล่าวได้ว่า สัญชาตญาณการเรียนรู้จากเรื่องเล่านี้เองที่ทำให้มนุษย์เข้าใจความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ซับซ้อนได้แตกต่างไปจากสัตว์

เพราะมนุษย์ทำความเข้าใจโลกผ่านเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเป็นสำคัญ โลกและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งจึงปรากฏในความรับรู้ของมนุษย์ในรูปของเรื่องราว

ในวัฒนธรรมต่างๆ มีเรื่องเล่ามากมายที่สังคมใช้บอกกล่าวเล่าความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการกำเนิดโลกและตำนานปฐมกาลในศาสนาต่างๆ หรือแม้แต่ทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ก็เป็นความพยายามที่จะบอกเล่าและเข้าใจโลกในฐานะของเรื่องราวที่มีจุดกำเนิด มีการคลี่คลายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนเป็นโลกที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

จารีตความรู้ต่างๆ ในอารยธรรมมนุษย์แต่ครั้งประวัติศาสตร์ก็อาศัยเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์ ตำนาน นิทาน หรือชาดก ในการปลูกฝังมโนทัศน์ ถ่ายทอดแง่คิด รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่มนุษยชาติมาโดยตลอด

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เรามักเชื่อกันว่ายึดถือความรู้ที่เน้นเฉพาะข้อเท็จจริงและการตรวจวัดในเชิงปริมาณ ก็ยังต้องเรียนรู้และถ่ายทอดความคิดผ่านเรื่องเล่า ดังเรื่องราวของกาลิเลโอผู้หย่อนวัตถุที่หนักเบาต่างกันลงจากหอเอนเมืองปิซา หรือนิวตันผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงเมื่อลูกแอ๊ปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ แม้ว่าเรื่องทั้งสองจะเป็นเพียงเรื่องเล่าลือที่ไม่เคยปรากฏมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่ถูกบอกเล่าเสมอในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดความอัศจรรย์ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการหาความรู้จากการทดลอง

วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วัดถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

รวมทั้งคนในชุมชนรอบๆ วัดยังใช้วัดเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น การประชุมหมู่บ้าน การประชุมราชการ หรือให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมไทย ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน หันไปยึดติดในวัตถุนิยมมากเกินไป เป็นผลให้คนห่างไกลจากวัดโดยไม่รู้ตัว วัดจึงได้ลดบทบาทจากในอดีตลงไปมาก วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์เป็นตัวแทนของวัดในการแสดงบทบาทต่างๆ เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ และการร่วมมือกันให้เกิดความสามัคคีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุกๆด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะการที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา

ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยจะมีวัดต่างๆมากมายที่เกิดจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย ทั้งนี้ก็จะเกิดทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ แต่ข้อเสียคือ ความขัดเเย้งของความคิดและวัฒนธรรมได้ ในฐานะที่เราเป็ทหารเราควรช่วยกันทะนุบำรุงรักษาวัดให้มั่นคงอยู่คู่กับคนไทยเพื่อให้คนไทยได้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งในยามทุกข์และยามสุข ดังนั้นวัดจึงเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมและสร้างวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมเป็นค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันมาอย่าช้านานซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมแทบทุกสังคมของคนไทยและกลายเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐานของคนไทย วัฒนธรรมจึงเป็นเสมือนบุคลิกภาพ และจิตวิญญาณของคนในสังคม

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ

1. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการลงมือปฏิบัติและเห็นผลจริง หลักธรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธสามารถนำไปปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
2. พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เข้ามามีบทบาทและผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธ เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การบวช การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
3. ผลจากการปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนที่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างก็ได้พบกับความสุขความเจริญในชีวิต ทั้งในด้านความสงบสุขทางกายและใจ และความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

การพัฒนาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจน้อย ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งในสังคมที่ไม่พึงปรารถนาหลายประการ จำเป็นจะต้องเน้นการพัฒนาจิตใจคนให้เป็นคนดี มีวินัย และคุณธรรม ตลอดจนอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้สมดุลกับการพัฒนาควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสที่ยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขโดยมีเป้าหมายพัฒนา

การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีจึงควรเน้นที่การพัฒนาจิตใจตนเองเป็นอันดับแรก

เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถจัดการชีวิตได้ดีเนื่องจากจิตใจที่ขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังแห่งความมุ่งมั่น ขาดกำลังใจจะไม่สามารถนำพาชีวิตไปให้ไกลได้ การพัฒนาจิตโดยการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่นคง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราอยู่ในสถานการณ์กดดัน อาทิเช่น ถูกติเตียน ดูถูก นินทา สบประมาท ฯลฯ และเราแก้ปัญหาด้วยการแสดงความน้อยใจ ผิดหวัง โกรธ  เกลียดหรือตอบโต้ด้วยการประชดชีวิต จะทำให้เราดำเนินชีวิตผิดพลาดจนได้รับเคราะห์กรรมได้

จิตเป็นตัวดำเนินงานและเป็นแรงงานสำคัญ

ถ้าจิตได้รับการอบรม การพัฒนาให้มีความฉลาดมีเหตุมีผล รอบคอบในสิ่งดีและชั่วทั้งหลายพอประมาณ ย่อมจะดำเนินกิจการต่างๆไปด้วยความราบรื่นดีงามไม่ค่อยผิดพลาด ผิดกับจิตที่ไม่ได้รับการอบรมการพัฒนาอยู่มาก การพัฒนาจิตก็เท่ากับการส่งเสริมความฉลาด รอบคอบในกิจการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ความเจริญทางจิตใจที่ได้รับการอบรมการพัฒนาย่อมเป็นผลดีกว่าความเจริญทางด้านวัตถุที่ไม่ได้พัฒนาจิตไปพร้อมกันอยู่มาก ดังนั้นการพัฒนาจิตเพื่อความรอบคอบในตนและกิจการทั้งหลาย จึงควรสนใจอย่างน้อยให้พอๆกันกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ

ปัจจุบันการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพัฒนาการด้านวัตถุอย่างเดียวก่อให้เกิดปัญหามากมายด้วยความเครียดและความเห็นแก่ตัวของบุคคลในสังคม เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาดังกล่าว จึงควรส่งเสริมให้ทุกคนพัฒนาจิตด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการพัฒนาจิตให้รู้เท่าทันโลก รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อันจะเป็นผลให้จิตบริสุทธิ์และเกิดปัญญา การฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองในด้านสติด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำจะทำให้นิสิตมีสติตั้งมั่น จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ และบันทึกเนื้อหาที่สำคัญของคำบรรยายไว้ได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์ในด้านต่างๆด้วยความรู้ทางอินเตอร์เน็ต

2

ในสังคมปัจจุบันที่โลกได้หมุนเวียนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ขนาดของโลกถูกย่อขนาดให้เล็กลงเหลือเพียงขนาดเท่าฝ่ามือเท่านั้น ทุกสิ่งอย่างไม่มีความว่าเป็นไปไม่ได้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านวิชาการ วิเคราะห์ วิจัย ให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือไม่ก็ตอบสนองต่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ชีวิตมีความสุข แต่นั่นก็เป็นเพียงความสุขของชีวิตที่เพิ่มขึ้นเฉพาะด้านกายภาพเท่านั้น ซึ่งเป็นการยึดติดกับวัตถุ แต่ความสุขด้านจิตใจดูเหมือนจะไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ซ้ำร้ายอาจลดลงอีกด้วย เนื่องจากต้องปรับชีวิตให้เข้ากับสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งการสนองต่อความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ซึ่งทำให้เกิดการขาดสุขภาวะทางจิตปัญญา เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เครียด เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ฯลฯ

สุขภาวะทางจิตปัญญา หมายถึง สภาวะสงบสุข เป็นความสุขที่แท้จริงที่หลุดพ้นจากการยึดติดกับวัตถุ เป็นภาวะที่เปี่ยมล้นด้วยความปิติ อิ่มเอิบ มีความอ่อนโยน เบิกบานจิตใจสงบนิ่ง ไม่วุ่นวาย สับสน มีพลังในการมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความหมาย มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน พึงพอใจในชีวิต มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงและมีความสามารถในการเผชิญและแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในภาวะวิกฤตได้อย่างเหมาะสม

การฝึกให้เกิดสติอย่างต่อเนื่อง หรือการฝึกระลึกรู้การเคลื่อนไหวของกายและจิตในปัจจุบัน แต่ละขณะๆด้วยความต่อเนื่อง การเจริญสติอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากพอ จะทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง ต่อสุขภาพกายและจิต สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องกับทางจิตและทางกายได้หลาย อย่าง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจิต ทำให้ผู้เจริญสติมีจิตที่มีความสงบสุข เยือกเย็น อิ่มเอิบ และแจ่มใส ส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้การทำงานของสมองเป็นระเบียบ ระบบประสาทผ่อนคลายและลดความตึงเครียด มีการปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และมีการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น การเจ็บป่วยทางกายเกิดน้อย และเมื่อเจ็บป่วย ร่างกายจะฟื้นฟูตัวเองได้เร็ว ฯลฯ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม

ประเทศไทยได้รับผลสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจ

แต่ก็มีปัญหาสังคมทางด้านพัฒนาจิตใจ และสถาบันครอบครัวตลอดจนวัฒนธรรมตามมา ซึ่งการให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านจิตใจ วัฒนธรรมและสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต่อการมีเสถียรภาพของสังคมไทยต่อไป เนื่องจากการลดอัตราการเพิ่มประชากรทำให้ครัวเรือนมีขนาดเล็กลงและมีผลให้ลักษณะของครอบครัวที่อยู่ร่วมกันหลายชั่วอายุคนเริ่มเสื่อมคลาย เกิดครอบครัวในลักษณะครอบครัวเดี่ยวหลายลักษณะ การที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นนี้ ทำให้ระบบความมั่นคงทางสังคมของสถาบันครอบครัวซึ่งเคยมีมาแต่เดิมต้องเปลี่ยนไป

ระบบเศรษฐกิจของสังคมสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ

เช่น การแตกสลายของครอบครัวในชนบท ปัญหาโสเภณีเด็ก โรคเอดส์ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นผลกระทบจากการพัฒนาที่คำนึงถึงแต่ความร่ำรวยทางด้านเศรษฐกิจทั้งสิ้น การพัฒนาควรมาจากรากฐานของตัวเองคือจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของสังคมทั้งมวล ถ้าพัฒนาโดยทุบรากฐานของตัวเองทิ้ง เอาแบบอย่างของคนอื่นมาเป็นฐานการพัฒนานั้นย่อมโยกคลอน ไม่มีความมั่นคงและก่อให้เกิดความวุ่นวายในที่สุด นอกจากนั้นการพัฒนาจะต้องเชื่อมโยงธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ สังคมเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การพัฒนาเฉพาะอย่าง

สังคมไทยที่พึงปรารถนา คือ สังคมที่ดีงาม และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เป็นสังคมแห่งความพอเพียงและสันติ มีเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ทอดทิ้งกัน มีความเป็นธรรม มีวัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความเข้มแข็งทางสังคม และสามารถรักษาสมดุลในตัวเอง และกับโลกภายนอกท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง สำหรับแก่นที่แท้จริงของสังคมอยู่เย็นเป็นสุข คือ คนในสังคมมีคุณธรรมโดยมีพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนที่จิตใจให้มีความคิดในทางที่ถูกต้อง เกิดปัญญาในทางที่ชอบ

การพัฒนาจิตใจและการสร้างค่านิยมที่ดีงาม

(1)ปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน โดยเน้นวิธีการฝึกอบรมในเชิงวิทยาศาสตร์ที่สอนให้คนคิดในเชิงวิเคราะห์
(2)ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องศาสนาและจริยธรรมในสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมเพื่อให้เป็นส่วนสำคัญ
(3)ปรับปรุงสื่อสารมวลชนของรัฐและจูงใจสื่อสารมวลชนของเอกชนให้ผลิตรายการและเผยแพร่ข่าวสารที่ช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจและศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
(4)ให้ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมโดยการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
(5)ยกย่อง สนับสนุน และประกาศเกียรติคุณคนดีในทุกสาขาอาชีพที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามศีลธรรม คุณธรรม หลักธรรม วินัยของศาสนา
(6)จัดให้มีสถานพักผ่อนหย่อนใจเพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีเพิ่มขึ้น เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามเด็กเล่นและห้องสมุด
(7)ควบคุมและปราบปรามแหล่งมั่วสุมและแหล่งอบายมุขต่างๆ

การพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์เพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

การพัฒนาจิตใจ เพื่อกำจัดสิ่งที่รังควานหรือทำลายจิตใจนี้มีอยู่มากวันหนึ่งๆ ไม่มีประมาณเลย มีแต่เรื่องสัญญาอารมณ์เครื่องผูกมัดรัดรึงบีบคั้นจิตใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยจะมีอารมณ์ที่ทำจิตใจให้มีความยิ้มแย้มแจ่มใสเบิกบานจิตใจ หรือให้ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสุขได้บ้าง มีแต่อารมณ์ที่เป็นข้าศึกต่อจิตใจเป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้นจึงต้องพัฒนาจิตใจเพื่อกำจัดสิ่งเหล่านี้ออก ให้จิตได้รับความสงบเยือกเย็น และสิ่งที่จะนำมาแก้ไขหรือซักฟอกสิ่งเหล่านี้ออกนอกจากธรรมแล้วไม่มี ที่นอกจากธรรมแล้วก็มีแต่เครื่องช่วยส่งเสริมให้จิตใจมีความรุ่มร้อนรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการเลย ดังนั้นจงให้เอาธรรมไปพัฒนาจิตใจ

ในชีวิตประจำวัน การมีสติในการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ ทำการรู้เห็นและควบคุมความคิดให้เป็นไปตามหลักธรรม จึงมีประโยชน์อย่างมากมายต่อนิสิต ทั้งด้านการศึกษาและการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

1.  ประโยชน์ด้านการศึกษา
การฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองในด้านสติ ด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำ จะทำให้นิสิตมีสติตั้งมั่น(มีความตั้งใจแน่วแน่)ในการฟังคำบรรยาย ไม่เผลอสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดและทำกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ และบันทึกเนื้อหาที่สำคัญของคำบรรยายไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้ผลของการศึกษาดีขึ้น ตามกำลังความสามารถของข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมที่มีอยู่ในความจำขณะนั้น ถ้าไม่มีสติในการฟัง หรือมีสติน้อย ความคิดฟุ้งซ่านก็มักจะมากขึ้น อาจมีการใช้เวลาไปคิดและทำเรื่องอื่นบ่อยขึ้น ทำให้ความสามารถของสมองในการคิดและการจดจำลดลง และผลการเรียนก็จะต่ำลงด้วย

2. ประโยชน์ด้านการดำเนินชีวิต
การพัฒนาจิตใจของตนเอง ด้วยการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ และใช้ข้อมูลดังกล่าวในการดำเนินชีวิตประจำวัน จะเป็นผลดีต่อจิตใจดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมสุขภาพจิตให้มีความเข้มแข็ง และอดทนต่อความยากลำบากต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในขณะดำเนินชีวิต รวมทั้งในยามเจ็บป่วย โดยไม่มีความทุกข์ทางจิตใจ เช่นเดียวกันกับการมีสุขภาพกายที่ดี ทำให้สามารถต่อสู้กับภารกิจทางกาย และความเจ็บป่วยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี.
2. ป้องกันความทุกข์ทางจิตใจได้ทุกขณะ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ สมองก็จะทำหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจคล้ายอัตโนมัติ ถ้ามีการศึกษาและฝึกฝนจนชำนาญ เช่นเดียวกันกับการที่สมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ ซึ่งสมองก็จะทำหน้าที่ได้เองคล้ายอัตโนมัติ ถ้าได้ศึกษาและฝึกซ้อมมาก่อน
3. รักษาความทุกข์ทางจิตใจได้ทุกขณะ เพราะเมื่อสมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ สมองก็จะสามารถทำหน้าที่ในการใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการรักษาความทุกข์ทางจิตใจที่กำลังมีอยู่ได้ทุกขณะที่ต้องการ เช่นเดียวกันกับการที่สมองมีข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการรักษาความทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องการรักษา ซึ่งเป็นการพึ่งพาข้อมูลสติปัญญาของตนเอง

 

การทำให้ชีวิตมีความสุขอย่างแท้จริง จะต้องมีการพัฒนาจิตปัญญา


ในสังคมปัจจุบันที่โลกได้หมุนเวียนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ขนาดของโลกถูกย่อขนาดให้เล็กลงเหลือเพียงขนาดเท่าฝ่ามือเท่านั้น ทุกสิ่งอย่างไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านวิชาการ วิเคราะห์ วิจัย ให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด หรือไม่ก็ตอบสนองต่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ชีวิตมีความสุข แต่นั่นก็เป็นเพียงความสุขของชีวิตที่เพิ่มขึ้นเฉพาะด้านกายภาพเท่านั้น ซึ่งเป็นการยึดติดกับวัตถุ แต่ความสุขด้านจิตใจดูเหมือนจะไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ซ้ำร้ายอาจลดลงอีกด้วย เนื่องจากต้องปรับชีวิตให้เข้ากับสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองในด้านสติ

ด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำ จะทำให้นิสิตมีสติตั้งมั่น(มีความตั้งใจแน่วแน่)ในการฟังคำบรรยาย ไม่เผลอสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดและทำกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ และบันทึกเนื้อหาที่สำคัญของคำบรรยายไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นเหตุให้ผลของการศึกษาดีขึ้น ตามกำลังความสามารถของข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมที่มีอยู่ในความจำขณะนั้น ถ้าไม่มีสติในการฟัง หรือมีสติน้อย ความคิดฟุ้งซ่านก็มักจะมากขึ้น อาจมีการใช้เวลาไปคิดและทำเรื่องอื่นบ่อยขึ้น ทำให้ความสามารถของสมองในการคิดและการจดจำลดลง และผลการเรียนก็จะต่ำลงด้วย

วิธีการที่ทำให้เกิดการพัฒนาจิตปัญญา

1.ทบทวนตนเอง มีเวลาอยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง ทำให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าความหมายของชีวิต มีความสุขกับคุณค่าของชีวิตที่เป็นอยู่

2.การได้สัมผัสและซึมซับความทุกข์ ความทุกข์ทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและเรียนรู้ซับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นแรงขับที่ทรงพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิธีคิด หรือเกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาจิตปัญญาได้อย่างรวดเร็ว

3.ควบคุม จัดการอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง จากการทำงานที่ต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์รุนแรงของผู้อื่น ความกดดันจากการทำงาน ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต แม้ในภาวะวิกฤติ ทำให้เกิดความเข็มแข็ง

4.ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม การยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ทั้งศาสนาพุทธคริสต์ อิสลาม เป็นสิ่งที่ช่วยให้มีการพัฒนาจิตปัญญาได้อย่างมั่นคง

5.ปล่อยวาง การปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของการทำจิต เพื่อไม่ให้ทุกข์ใจเข้าใจความจริงของชีวิตว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้

6. มีสติกับเทคโนโลยี อย่าให้เทคโนโลยีฉุดกระชากสติของเราไป นอกจากจะใช้อย่างไรแล้ว ใช้เท่าไร ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ควรมีสติในการใช้เพื่อให้พอดี ไม่ลุ่มหลงกับมันจนกลายเป็นเสพติด สิ้นเปลืองเงินทอง