พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์

พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์ ที่ควบคู่มากับการพัฒนาการทางร่างกาย มนุษย์แต่ละคนที่เกิดขึ้นมาควรมีโอกาสได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ ให้เต็มศักยภาพที่ได้รับมาตามธรรมชาติ อะไรที่เป็นธรรมชาติเรายังมีความสามารถไปแก้ไขได้น้อยมากในขณะนี้ เช่น พันธุกรรมด้านต่างๆที่ติดตัวมาเนื่องจากได้ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของตน เช่น สีผม รูปร่าง ความฉลาด โรคบางชนิด แต่ส่วนที่เราสามารถทำได้ดีคือ ส่วนที่เป็นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้วโดยจัดสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมที่สุดที่เด็กจะพัฒนาไปอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อตนเอง และสังคมส่วนรวมต่อไป

พัฒนาการที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกัน จิตพยาธิสภาพ (psychopathology) ต่างๆ ได้มากมาย 1เช่น บุคลิกภาพปรวนแปรต่างๆที่มีความร้ายแรงไม่แพ้โรคร้ายๆทางกาย คล้ายโรคมะเร็ง เบาหวานและโรคอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอต้องพึ่งพิงผู้อื่นเสมอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้เอง อารมณ์ปรวนแปรเสมอ ก็มีสภาพไม่ต่าง

กับผู้ที่มีโรคร้ายที่ทำให้เป็นอัมพาตจนเดินไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ป่วยทางใจแบบนี้ก็เปรียบเสมือนมีอาการ “อัมพาต” ทางจิตคือ ร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวัย แต่กลับต้องเป็นภาระของผู้อื่นอีก ฉะนั้น พัฒนาการทางจิตใจที่ดีจึงจะช่วยให้คนๆ นั้นเติบโต มาแล้วมีความปกติสุขต่อไป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางจิตใจ

เมื่อแรกเกิดมนุษย์มีสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย2,3 ต่างจากสัตว์โลก อื่นหลายชนิด เช่น เต่าออกจากไข่จะสามารถคลานลงทะเลไปหากินเองได้เลยโดยไม่ต้อง พึ่งพ่อแม่ สภาพช่วยตัวเองไม่ได้ของทารกนี่เองที่ทำให้พัฒนาการของมนุษย์เราขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมมาก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีที่เหมาะสม

ถึงอย่างไรก็ตามปัจจัยทางชีวภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ก็ยังเป็นรองกว่าปัจจัยจาก สิ่งแวดล้อม เนื่องจากพัฒนาการทางจิตใจมีปัจจัยหลายอย่างมาก แต่พอจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ

1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) คือสิ่งที่ติดตัวเด็กมาแต่ แรกเกิด

2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) สิ่งแวดล้อมคือ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กมาปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและพัฒนาตนเอง จนกระทั่งมี ลักษณะเฉพาะของตัวเอง

พัฒนาการทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คนเราเป็นคนที่มีคุณภาพดี มีจิตใจปกติ สามารถมีความสุข มีความรับผิดชอบ ปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆ สามารถทำหน้าที่ของตนได้ในครอบครัวและสังคมที่ตนอยู่ อีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พัฒนาการที่ดีต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวภาพของเด็กกับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา

ผู้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของตนที่จะช่วยพัฒนาเด็ก และป้องกันปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ หรือเมื่อพบว่ามีความเบี่ยงเบนของพัฒนาการก็ควรรีบแก้ไข ทำเองหรือขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เด็ก หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรการป้องกันย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อนเสมอ

แนวทางการพัฒนาคุณภาพจิตใจ

ชีวิตจะมีความสุขอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตปัญญาและคุณภาพจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยการคิดทบทวน ไตร่ตรองเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือการเห็นหรือซึมซับจากประสบการณ์ของคนอื่น การจะพัฒนาจิตใจได้จะต้องมีการฝึกฝน ปฏิบัติ โดยสามารถกระทำได้ดังนี้

– ทบทวนตนเอง มีเวลาอยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง ทำให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าความหมายของชีวิตและมีความสุขกับคุณค่าของชีวิตที่เป็นอยู่

– การปล่อยวาง นั้นเป็นเรื่องของการทำจิตเพื่อไม่ให้ทุกข์ใจเข้าใจความจริงของชีวิต

– ควบคุมและจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง จากการทำงานที่ต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์รุนแรงของผู้อื่น ความกดดันจากการทำงาน ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต

– การได้สัมผัสและซึมซับความทุกข์ ความทุกข์ทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและเรียนรู้ซับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นแรงขับที่ทรงพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิธีคิดหรือเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาจิตปัญญาได้อย่างรวดเร็ว

– การศึกษาธรรมหรือปฏิบัติธรรม เพราะการยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มีการพัฒนาจิตใจและปัญญาได้อย่างมั่นคง

– การมีสติกับการใช้เทคโนโลยี โดยอย่าให้เทคโนโลยีเข้ามากระชากสติของเราไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ก็ตาม

– การเจริญสติและการฝึกวิปัสสนา เป็นการฝึกให้เกิดสติอย่างต่อเนื่อง เพราะการเจริญสติอย่างต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายและจิตใจ สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคได้หลายอย่าง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจิตใจ ทำให้ผู้เจริญสติมีจิตใจที่สงบสุข เยือกเย็น อิ่มเอิบและแจ่มใสส่งผลดีต่อร่างกายและการทำงานของสมอง เมื่อระบบประสาทผ่อนคลายก็จะสามารถลดความตึงเครียดได้ และสามารถปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น การเจ็บป่วยทางกายก็จะเกิดน้อยลง

จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพจิตใจนั้นสามารถกระทำได้อย่างง่ายโดยต้องเริ่มจากตนเองเสียก่อน เพราะสภาพจิตใจที่เป็นสุขสามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต อีกทั้งวางตัวได้อย่างเหมาะสมและปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกายได้อีกด้วย

การใช้สมาธิในการขจัดความเครียด

      

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนหรือสังคมใด  คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ  โดยที่ความเครียดจะฟ้องออกมาทางร่างกายด้วยอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง  ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์  หงุดหงิดง่าย ว้าวุ่นใจ ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้ที่มีความเครียดสูงเป็นเวลานานจะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ทำให้ความรับผิดชอบต่อการงาน ครอบครัวและสังคมลดลง มีโอกาสที่จะติดยาและสารเสพติดได้ง่าย  เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีแนวทางประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุข ความราบรื่นในงาน ในครอบครัวและในสังคมรอบข้างอย่างครบถ้วนด้วยกัน คือ

1.การมีสติ เป็นการพัฒนาฝีมือของเราขึ้นมาก หากแม้จะไม่สงบก็ลดความฟุ้งซ่านได้

2.การใช้สมาธิ อย่างเช่น เมื่อรู้สึกเหนื่อยจากการทำงาน งานก็จะผิดพลาดเป็นประจำ คิดอะไร เขียนอะไร จำอะไรก็ไม่ดี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ต้องใช้ความอดทน การนั่งเฉย ๆ แล้วเอาจิตมาผูกกับลมหายใจ เพียงแต่รับรู้ลมหายใจเข้าออกต่อเนื่อง ตามลมหายใจ ความคิดก็ค่อย ๆ ก็สามารถช่วยให้การทำงานนั้นลดการผิดพลาดลงได้

3.การอยู่กับปัจจุบัน โดยแบ่งความสุขไปยังทุกคนในที่ทำงานทุกทิศทุกทาง ทำความรู้จักกับลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ใครที่ทำให้ตนเองทุกข์ใจ ร้อนใจ ขัดเคืองก็ให้อภัยเขา ไม่เอามาคิด ที่จะทำให้ใจของเราเป็นสุข

4.การปล่อยวาง โดยการไม่จมอยู่กับงานนั้นๆจนเกินไป ไม่หมกมุ่นอยู่กับอดีตที่ผ่านไป

5.การสวดมนต์ จะทำให้จิตใจของเรายึดมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นการฝึกจิตให้สงบและมีสมาธิ เชื่อว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในร่างกายและสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

จะเห็นได้ว่า การใช้สมาธิในการขจัดความเครียดสามารถกระทำเองได้โดยไม่ต้องลงทุนอีกด้วย ทั้งยังมีมีประโยชน์ตัวเราเองที่จะทำมีความสุข ความสัมพันธ์กับเพื่อนรอบข้างก็ดี การทำงานก็ประสบความสำเร็จอีกทั้งยังมีคุณค่าต่อสังคมด้วย

การบริหารจิตใจให้แน่วแน่มั่นคงและเจริญปัญญา

20100003_13022115150035_237
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ควรเข้าใจกฏเกณฑ์และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะชีวิตเรากับธรรมชาติที่แวดล้อมล้วนแต่มีคุณค่าที่เท่าเทียมกันจึงควรสนใจศึกษาให้ถ่องแท้โดยไม่ต้องไปสนใจกับพวกลาภยศชื่อเสียง ซึ่งเปรียบประดุจความฝัน มันไม่ใช่เรื่องจริงจังอะไรที่เราจะไปหมายมั่นยึดถือเป็นเจ้าของ การฝึกจิตปฏิบัติธรรมนอกจากเรามีสติแล้วจะต้องมีสัมปชัญญะด้วย คือการมีความรู้สึกตัวทั่วถึงว่าในขณะนั้นๆกำลังทำ พูดหรือคิดอะไรเป็นการรู้เท่าทันการณ์แล้วพิจารณาว่าจะเอาไว้หรือสลัดออกไปจากจิต เพราะการดำเนินชีวิตต้องประพฤติธรรมไปด้วยเพื่อเวลาที่เราฟังอะไรจะได้ยิน ดูอะไรจะได้เห็น ไม่ปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ เมื่อเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ย่อมแลเห็นความงดงาม ความอัศจรรย์ใจซึ่งประจักษ์อยู่ต่อหน้าเรา

พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการกระทำทุกอย่างจะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิตจึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา การบริหารจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคงโดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้นผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคง

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

1.การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ คือผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ
2.การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง คือพยายามเข้าสมาคมกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคงด้วยการทำ การพูด และการแสดงออกอื่นๆ
3.การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วน คือคนใดที่มีสติฟั่นเฟือน หลงๆ ลืมๆ ซึ่งมีการกระทำการพูดผิดๆ ถูกๆ อยู่ตลอดนั้น
4.การมีใจน้อมไปในการมีสติ คืออยากเป็นคนมีสติมั่นคงโดยตัวเราเองต้องพยายามขวนขวายปลุกใจให้เห็นคุณค่าในการมีสติสัมปชัญญะแล้วปฏิบัติธรรมเพื่อนำจิตของตนให้เป็นสมาธิ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความเครียด

4

สุขภาพจิตใจเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขการส่งเสริมสุขภาพจิตใจช่วยให้ปรับตัวในชีวิตให้เป็นประโยชน์ ทั้งการเรียน การทำงาน สังคม ความคิดและอารมณ์เป็นปกติ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ วางตัวได้อย่างเหมาะสม และปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกาย

ชีวิตคนตั้งแต่เกิดมาต้องมีการปรับตัวให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิตความเครียดคือผลรวมของปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์ต่างๆ ความเครียดที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวแก้ไขปัญหาเกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์แต่ความเครียดที่มากเกินไปเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เกิดความไม่สบายใจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทำให้ปรับตัวไม่ได้แก้ไขปัญหาได้ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงหรือเกิดโรคทางร่างกายหลายโรคที่อาการเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียดความเครียดจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนจะต้องเผชิญและฝึกฝนเอาชนะ แก้ไขปัญหาไม่เกิดอาการของความเครียดคนที่สุขภาพจิตดีคือคนที่มีวิธีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆหรือความเครียดได้ดี

คนสุขภาพจิตไม่ดีเมื่อเผชิญปัญหาในชีวิตจะเกิดอาการต่างๆทางจิตใจ อารมณ์ แสดงพฤติกรรมบางอย่างหรือปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายซึ่งแสดงภาวะไม่สมดุล บางคนอาจมีอาการแสดงออกมาเล็กน้อย เรียกว่าปัญหาสุขภาพจิตหรือมีมากจนเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่าโรคทางจิตเวชอาการทางอารมณ์ความเครียดทำให้ทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกวิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ไม่สบายใจ บางคนมีอารมณ์ซึมเศร้าท้อแท้ร่วมด้วย เบื่อ หงุดหงิด ไม่สนุกสนานสดชื่นร่าเริงเหมือนเดิม อารมณ์ซึมเศร้ามักเกิดร่วมกับการสูญเสียหรือพลาดหวังอย่างรุนแรง อารมณ์ไม่สบายใจเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆตามมา ได้แก่ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เพลีย เหนื่อยง่าย เหนื่อยหน่าย อาการทางจิตใจความคิดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ คิดไม่ดีคิดร้ายความคิดกังวลล่วงหน้าย้ำคิดย้ำทำ ไม่สามารถหยุดความคิดตนเองได้ความคิดควบคุมไม่ได้  คิดมาก มองตนเองไม่ดี มองคนอื่นไม่ดี มองโลกในแง่ร้าย ความเครียดถ้ามีมากและต่อเนื่องจะทำให้สมองมึน งง เบลอ ขาดสมาธิ ความคิดความอ่านและความจำลดลง การตัดสินใจช้า ไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตนเอง

การจัดการกับความเครียด ด้วยการพัฒนาจิตใจ

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ โดยคนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ ซึ่งความเครียดโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เป็นต้น ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์ หงุดหงิดง่าย ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้โดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างอีกด้วย รวมทั้ง ปัญหาของสังคม และอื่นๆด้วย เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจนั้นเป็นไปอย่างซับซ้อน ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ rhinovirus ทำให้เป็นหวัดได้ง่ายผู้ที่มีความโกรธบ่อยๆ ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้จิตใจของทุกคนเป็นเสมือนพลังงานทั้งในแง่ดีและร้าย ครอบครัวที่มีความขัดแย้งทำให้เกิดลูกที่มีปัญหา สังคมที่มีความเครียดสูงเป็นสังคมที่ขาดความสุขฉะนั้นแล้วหนทางสู่ความสุขด้วยการพัฒนาตนเองมีด้วยกันดังนี้
– การมีจิตสำนึกแห่งการพัฒนาตนเองผู้ที่ต้องการพัฒนาตนจะเตือนตนด้วยเสียงของมโนสำนึกภายในใจและแสวงหาคุณค่าทางจิตใจที่สูงกว่าคุณค่าของวัตถุ ไม่ปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามกระแสความต้องการทางวัตถุ
– มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะกับการงานจะต้องมีสุขภาพที่ดี
– รู้จักความรักและการให้อภัย โดยฝึกการยอมรับในความแตกต่าง และตระหนักในคุณค่าของชีวิตผู้อื่นเช่นเดียวกับตนเอง มีความรักและเคารพในความเป็นชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
– มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยการทบทวนอดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน และวางแผนต่ออนาคตเพื่อให้สามารถก้าวเดินได้ไม่ผิดพลาด
– แบ่งปันรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ การยิ้มแต่ละครั้งทำให้กล้ามเนื้อนับร้อยมัดบนใบหน้าผ่อนคลาย
– ความสุขที่แท้คือความสงบซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมของจิตอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับความรัก
– รู้จักปล่อยวาง กับปัญหาต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเครียด
ดังนั้นหากการปล่อยให้การพัฒนาการของจิตใจหยุดลงไปนั้น ก็จะทำให้สุขภาพเรานั้นย้ำแย่ลงไปด้วย ทั้งนีทั้งนั้นควรจะใส่ใจกับสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้มีความสุขทั้งกายและใจ

 

 

องค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้นมาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่

30

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายคนคงเข้าใจว่าเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาทักษะและการพัฒนาความสามารถ ของพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น โดยอาศัยผ่านระบบการศึกษา การพัฒนา และการฝึกอบรม ซึ่งเป็นการพัฒนาในระยะสั้นๆ เท่านั้นเองปัจจุบันองค์การถูกท้าทายด้วยระบบโลกาภิวัฒน์ อันนำมาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และการเอารัดเอาเปรียบทุกรูปแบบเพื่อชัยชนะในด้านต่างๆ จึงส่งผลทำให้ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่ภายใต้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ด้านบุคลากรในองค์การเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การบริหารงานเชิงกลยุทธ์นั้นผู้บริหารต้องเริ่มต้นจากการ ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ขององค์การที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียนประการที่สองวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การทั้งภายนอกและภายใน ประการที่สามสร้างวิสัยทัศน์ใหม่และพร้อมทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ ประการที่สี่ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมองบุคลากรเป็น Assets ให้เป็นการ Human Capitals ประการที่ห้าต้องปรับกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ ประการที่หกผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยน บทบาทใหม่จากที่เคยสั่งการ ถือระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ให้กลายมาเป็นผู้บริหารแบบสร้างการเปลี่ยนแปลง เน้นการสร้างความยืดหยุ่นการทำงานอย่างเป็นระบบ ประการที่เจ็ดนำแนวทางทั้ง 6 ประการข้างต้นมาบูรณาการและสร้างโมเดลใหม่ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ จากการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ทั้ง 7 ประการ เป็นเพียงบันไดขั้นต้นเท่านั้นในการที่จะทำให้องค์การเกิดผลลัพธ์ที่ดีในปัจจุบันและในอนาคต

ดังนั้น ผู้บริหารองค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้น มาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ โดยที่ผู้บริหารและองค์การต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน และหากเป็นเช่นนี้แล้ว การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่จึงจะต้องเริ่มต้นจากการการพัฒนาบุคลากรใน 3 มิติ ได้แก่ มิติแรก การพัฒนาทัศนคติ (Attitude) คือ การทำให้บุคลากรเปลี่ยนวิธีคิด และการทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ มิติสอง การพัฒนาลักษณะนิสัย (Traits) คือ ทำให้บุคลากรมีความรักความผูกพันกับองค์การ มิติสาม การพัฒนาการจูงใจ(Motivation) คือ การสร้างแรงจูใจให้กับบุคลากรทั้งในรูปของเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการ และตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ฯลฯ

ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย

30

การดำเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารและโลกไร้พรมแดน  ยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน  เร่งรีบ  การเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่และวิทยาการต่าง ๆ   ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีขึ้น และบางส่วนส่งผลให้สังคมขาดสันติสุข หากนักศึกษาได้มีเวลาสักช่วงหนึ่งของชีวิตที่สำรวจตรวจสอบ   แสวงหาคำตอบเรื่องแก่นแท้แห่งพฤติกรรมเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นอันจะนำไปสู่นวทางพัฒนาตน  อาจจะเป้นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยดำรงตนตามบทบาทต่าง ๆ ได้โดยเหมาะสม ช่วยให้การดำเนินชีวิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นทั้งในด้านชีวิตการเรียน  การทำงาน และชีวิตส่วนตัว ในบทที่ว่าด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่องการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนนี้ ประกอบด้วยขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรม  เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม จุดประสงค์ของการศึกษา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน  ศาสตร์ที่ให้ความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีการศึกษาพฤติกรรม การเก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา  แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน และข้อควรคำนึงใน การนำความรู้เรื่องพฤติกรรมไปพัฒนาตน  เพื่อเป็นบทนำพื้นฐานสู่การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนในบทอื่นต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษามีความสามารถดังนี้

เข้าใจ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ขอบข่ายของการศึกษาพฤติกรรมในด้านความหมายประเภทและพฤติกรรมที่ควรเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาตนระบุเป้าหมาย ตระหนักในความสำคัญ  และเข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาพฤติกรรมวิเคราะห์ที่มาของความรู้ด้านพฤติกรรม  วิธีศึกษาพฤติกรรมและนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และระบุแนวทางการประยุกต์ใช้แนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เพื่อพัฒนาตน  รวมทั้งสามารถนำความรู้และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ความรู้ไปวางแผนพัฒนาตนได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธ์กัน  โดยพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอก เช่น คนเราย่อมพูดหรือย่อมแสดงกิริยาโดยสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดภายใน ถ้าต้องการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ “จิตใจ” หรือพฤติกรรมภายในของคนก็ต้องศึกษาจากส่วนที่สัมผัสได้ชัดแจ้งคือพฤติกรรมภายนอกซึ่งเป็นแนวทางสู่ความเข้าใจพฤติกรรมที่เป็นความในใจและการจะเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มนุษย์แสดงออกอันเป็นพฤติกรรมภายนอกเราก็ต้องศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของการคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การรู้สึก ฯลฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมภายใน

การพัฒนาตนเองเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้า

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน…. แม้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และการเปลี่ยนแปลงเองก็ย่อมส่งผลกระทบในทางใดทางหนึ่ง ในระยะสั้นหรือระยะยาวหรือไม่ช้าก็เร็วก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่การเปลี่ยนแปลงนำพ่วงติดมาด้วยก็คือ สัญญาณเตือนเพื่อให้บุคลากรในองค์การต้องเร่งปรับตัวบางประการ อันได้แก่ 1) ปรับใจ โดยต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความไม่มั่นคงในอาชีพข้าราชการ ซึ่งคนทำงานภาคเอกชนได้ประสบมาแล้วในช่วงภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจหมายความว่า บุคลากรในองค์การควรเตรียมพร้อมสำหรับการออกจากงาน การโยกย้ายไปประจำหน่วยงานอื่น การเปลี่ยนตำแหน่ง การทำงานโดยมีเป้าหมายผลงาน การปรับให้เป็นข้าราชการกึ่งประจำ หรือการทำงานในรูปของสัญญาและการทำงานบางส่วนของเวลา ซึ่งล้วนส่งผลกระทบถึงรายได้ประจำที่เคยได้รับทั้งสิ้น 2) ปรับตัว การทำงานยุคใหม่ต้องการความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันไปจากเดิมคือต้องมีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ข่าวสารและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถในการสื่อความ มนุษยสัมพันธ์ และความเป็นผู้นำตลอดจนการติดตามวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทันสมัยเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบอยู่ในลักษณะการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3) ปรับทัศนคติ เช่น ข้าราชการจำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่าการทำราชการเป็นงานมั่นคง ข้าราชการคือคนที่มีพื้นฐานอำนาจรัฐสนับสนุน การมีตำแหน่งหน้าที่เจริญก้าวหน้าในงานเป็นเป้าหมายของอนาคตของข้าราชการ หรือความคิดเรื่องการทำงานในสำนักงานโดยมีเวลากำหนดที่แน่นอน เช่น 8.30-16.30 และมีสถานที่ทำงานที่แน่นอน การเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการพัฒนาตนเอง (Self-Development) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีลักษณะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์

การพัฒนาตนเองเป็นหน้าที่หลักของมนุษย์ ซึ่งการจะบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาตนเองได้ย่อมต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ รวมทั้งการจัดหรือควบคุมตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีความเชื่อในตนเองว่ามีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายประสงค์หรืออุดมการณ์แห่งตนได้ ย่อมจะพบกับความเจริญงอกงามได้ไม่ยากนัก การพัฒนาตนเอง ไม่ใช่เพียงแต่การทำให้พฤติกรรมที่มีปัญหาหมดไปเท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์ในการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อที่จะมีอิสระที่จะเลือกทำพฤติกรรมเพื่อสิ่งที่สุดของตน โดยการพัฒนาตนเองมีความสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ 1) เพื่อที่จะได้รู้จักตนเองตรงตามความเป็นจริง ทั้งส่วนที่เป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง อันจะนำไปสู่การขจัดความรู้สึกที่ขัดแย้งภายในตัวบุคคลออกไป ก้าวมาสู่การยอมรับตนตามสภาพความเป็นจริง 2) เพื่อพร้อมที่จะปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น โดยการสร้างคุณลักษณะที่มีประโยชน์และลดหรือขจัดคุณลักษณะที่เป็นโทษกับชีวิตและสังคม ทั้งนี้เป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ 3) เพื่อวางแนวทางในการที่จะพัฒนาชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้อย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ ความเชื่อพื้นฐานของบุคคลในการพัฒนาตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ

ใช้เทคโนโลยีอย่างมีสติในการพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

การรู้เท่าทันเทคโนโลยี คือ การรู้จักเทคโนโลยีตามความเป็นจริงทั้งคุณและโทษ เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สาระสำคัญของการศึกษาเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือสร้างสรรค์ ใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม เพียรพยายามนำเอาความรู้มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะให้ประโยชน์สุขที่แท้จริง ที่เกื้อกูลแก่ชีวิต สังคม และระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติทั้งหมด

สิ่งที่แสดงถึงความเจริญ หรือเครื่องหมายแห่งความเจริญของโลกหรือของมนุษย์ ก็คือ เทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องเน้น ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวเทคโนโลยีเอง ก็คือ ท่าทีและการปฏิบัติต่อเทคโนโลยี เพราะยิ่งความเจริญทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น ก็มีสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้น นั่นคือ ภาระแก่สำหรับมนุษย์เอง ได้แก่ ภาระในการใช้และบำรุงรักษาซ่อมแซมแก้ไข ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามากเท่าไร ก็จะยิ่งมีความซับซ้อน มีความละเอียดอ่อนมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งสร้างเทคโนโลยีซับซ้อนสูง ยิ่งเจริญ ก็ยิ่งต้องการคนที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น เพื่อมาใช้ควบคุมเทคโนโลยีให้เป็นไปอย่างราบรื่นได้ผลดี คุณภาพของคนที่เราต้องการ คือ ทั้งคุณภาพด้านความชำนาญเฉพาะทาง มีความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค และคุณภาพด้านคุณธรรมในจิตใจ ความมีสติรอบคอบ ไม่ประมาท มีความรับผิดชอบ ไม่เห็นแก่ตัว และมีความเมตตากรุณา เห็นคุณค่าชีวิตของผู้อื่น อยู่ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ไม่ทำลายคุณภาพชีวิต สังคม และธรรมชาติแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ จึงต้องมีการพัฒนาคนกันอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือพัฒนาคนให้เหนือกว่าการพัฒนาเทคโนโลยี

มนุษย์เราสร้างสรรค์และพัฒนาเทคโนโลยีขึ้น เพื่อการทำมาหากินและการต่อสู้ป้องกันภัย เราจึงใช้เทคโนโลยีใน 2 ลักษณะ ด้านหนึ่งเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต และอีกด้านหนึ่งเพื่อสนองความต้องการในทางเห็นแก่ตัวและทำลายกัน

ทำอย่างไรจะให้มนุษย์สร้างเทคโนโลยี ชนิดที่สร้างประโยชน์ในทางพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสให้เราสามารถพัฒนาตน เช่น ช่วยทุ่นเวลาและแรงงานของเรา ให้ทำงานเสร็จโดยง่ายและเร็วไว ให้เรามีเวลาและแรงงานเหลือ เพื่อจะได้เอาเวลาและแรงงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ ในการปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือธรรม แนะนำให้ความรู้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเท่ากับว่า เทคโนโลยีจะสร้างโอกาสแก่เราในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น

สื่อสามารถเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์

โลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยตามกาลเวลาตั้งแต่ยุคสังคมเกษตร ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนมาถึงยุควิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือยุคไร้พรหมแดน ที่ทำให้ชีวิตของมนุษยชาติเปลี่ยนแปลไป เพราะชาวโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งจนทั่วทั้งโลกเสมือนเป็นชุมชนเดียวกัน คือชุมชนมนุษยชาติ

ดังนั้นโลกปัจจุบันติดต่อสื่สารกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายประกอบกับการเปิดเสรีทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ทุกสังคม ทุกประเทศจึงต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ในทุกด้านเพื่อความอยู่รวดของสังคม และคนในสังคมนั้น เครื่องมือที่จะช่วยให้สังคมอยู่รอดและสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในสังคมอารยประเทศได้ คือการสร้างสังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ เมื่อสร้างปัญญาให้กับคนอันจะช่วยให้คนทุกคนพ้นจากความไม่รู้ ความลุ่มหลงมัวเมา และความยากจนข้นแค้น เพราะปัญญาที่เกิดจากการศึกษาและการเรียนรู้จะทำให้คนรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักคิด รู้จักทำและแสวงหาหนทางในการเลี้ยงชีพ และการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ในบรรดารูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นความประณีตละเอียดอ่อน

การเล่าเรื่องและการเรียนรู้จากเรื่องเล่าเป็นความสามารถที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ จึงสามารถเรียนรู้โลกจากการฟังเรื่องเล่ามาเนิ่นนานก่อนหน้าที่จะรู้จักตัวเลขและการคำนวณ อาจกล่าวได้ว่า สัญชาตญาณการเรียนรู้จากเรื่องเล่านี้เองที่ทำให้มนุษย์เข้าใจความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ซับซ้อนได้แตกต่างไปจากสัตว์

เพราะมนุษย์ทำความเข้าใจโลกผ่านเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเป็นสำคัญ โลกและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งจึงปรากฏในความรับรู้ของมนุษย์ในรูปของเรื่องราว

ในวัฒนธรรมต่างๆ มีเรื่องเล่ามากมายที่สังคมใช้บอกกล่าวเล่าความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการกำเนิดโลกและตำนานปฐมกาลในศาสนาต่างๆ หรือแม้แต่ทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ก็เป็นความพยายามที่จะบอกเล่าและเข้าใจโลกในฐานะของเรื่องราวที่มีจุดกำเนิด มีการคลี่คลายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนเป็นโลกที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

จารีตความรู้ต่างๆ ในอารยธรรมมนุษย์แต่ครั้งประวัติศาสตร์ก็อาศัยเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์ ตำนาน นิทาน หรือชาดก ในการปลูกฝังมโนทัศน์ ถ่ายทอดแง่คิด รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่มนุษยชาติมาโดยตลอด

แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เรามักเชื่อกันว่ายึดถือความรู้ที่เน้นเฉพาะข้อเท็จจริงและการตรวจวัดในเชิงปริมาณ ก็ยังต้องเรียนรู้และถ่ายทอดความคิดผ่านเรื่องเล่า ดังเรื่องราวของกาลิเลโอผู้หย่อนวัตถุที่หนักเบาต่างกันลงจากหอเอนเมืองปิซา หรือนิวตันผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงเมื่อลูกแอ๊ปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ แม้ว่าเรื่องทั้งสองจะเป็นเพียงเรื่องเล่าลือที่ไม่เคยปรากฏมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่ถูกบอกเล่าเสมอในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดความอัศจรรย์ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการหาความรู้จากการทดลอง

วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

วัดถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

รวมทั้งคนในชุมชนรอบๆ วัดยังใช้วัดเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ และทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น การประชุมหมู่บ้าน การประชุมราชการ หรือให้วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรมตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาสู่สังคมไทย ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน หันไปยึดติดในวัตถุนิยมมากเกินไป เป็นผลให้คนห่างไกลจากวัดโดยไม่รู้ตัว วัดจึงได้ลดบทบาทจากในอดีตลงไปมาก วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์เป็นตัวแทนของวัดในการแสดงบทบาทต่างๆ เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ และการร่วมมือกันให้เกิดความสามัคคีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

พระพุทธศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในทุกๆด้าน จึงมีลักษณะที่เป็นสภาพที่กว้างขวางและครอบคลุมสังคมไทย พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้เพราะการที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไทย เนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา

ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยจะมีวัดต่างๆมากมายที่เกิดจากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย ทั้งนี้ก็จะเกิดทั้งข้อดีเเละข้อเสีย ซึ่งข้อดีก็คือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ แต่ข้อเสียคือ ความขัดเเย้งของความคิดและวัฒนธรรมได้ ในฐานะที่เราเป็ทหารเราควรช่วยกันทะนุบำรุงรักษาวัดให้มั่นคงอยู่คู่กับคนไทยเพื่อให้คนไทยได้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งในยามทุกข์และยามสุข ดังนั้นวัดจึงเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมและสร้างวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมเป็นค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันมาอย่าช้านานซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นในสังคมแทบทุกสังคมของคนไทยและกลายเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐานของคนไทย วัฒนธรรมจึงเป็นเสมือนบุคลิกภาพ และจิตวิญญาณของคนในสังคม

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ

1. หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการลงมือปฏิบัติและเห็นผลจริง หลักธรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธสามารถนำไปปฏิบัติและใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
2. พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เข้ามามีบทบาทและผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธ เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การบวช การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
3. ผลจากการปฏิบัติธรรม พุทธศาสนิกชนที่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างก็ได้พบกับความสุขความเจริญในชีวิต ทั้งในด้านความสงบสุขทางกายและใจ และความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน

การพัฒนาจิตใจด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจน้อย ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งในสังคมที่ไม่พึงปรารถนาหลายประการ จำเป็นจะต้องเน้นการพัฒนาจิตใจคนให้เป็นคนดี มีวินัย และคุณธรรม ตลอดจนอนุรักษ์พัฒนาศิลปวัฒนธรรมให้สมดุลกับการพัฒนาควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสที่ยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขโดยมีเป้าหมายพัฒนา

การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีจึงควรเน้นที่การพัฒนาจิตใจตนเองเป็นอันดับแรก

เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถจัดการชีวิตได้ดีเนื่องจากจิตใจที่ขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังแห่งความมุ่งมั่น ขาดกำลังใจจะไม่สามารถนำพาชีวิตไปให้ไกลได้ การพัฒนาจิตโดยการทำสมาธิจะช่วยให้จิตมีความสงบมั่นคง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเราอยู่ในสถานการณ์กดดัน อาทิเช่น ถูกติเตียน ดูถูก นินทา สบประมาท ฯลฯ และเราแก้ปัญหาด้วยการแสดงความน้อยใจ ผิดหวัง โกรธ  เกลียดหรือตอบโต้ด้วยการประชดชีวิต จะทำให้เราดำเนินชีวิตผิดพลาดจนได้รับเคราะห์กรรมได้

จิตเป็นตัวดำเนินงานและเป็นแรงงานสำคัญ

ถ้าจิตได้รับการอบรม การพัฒนาให้มีความฉลาดมีเหตุมีผล รอบคอบในสิ่งดีและชั่วทั้งหลายพอประมาณ ย่อมจะดำเนินกิจการต่างๆไปด้วยความราบรื่นดีงามไม่ค่อยผิดพลาด ผิดกับจิตที่ไม่ได้รับการอบรมการพัฒนาอยู่มาก การพัฒนาจิตก็เท่ากับการส่งเสริมความฉลาด รอบคอบในกิจการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ความเจริญทางจิตใจที่ได้รับการอบรมการพัฒนาย่อมเป็นผลดีกว่าความเจริญทางด้านวัตถุที่ไม่ได้พัฒนาจิตไปพร้อมกันอยู่มาก ดังนั้นการพัฒนาจิตเพื่อความรอบคอบในตนและกิจการทั้งหลาย จึงควรสนใจอย่างน้อยให้พอๆกันกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ

ปัจจุบันการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพัฒนาการด้านวัตถุอย่างเดียวก่อให้เกิดปัญหามากมายด้วยความเครียดและความเห็นแก่ตัวของบุคคลในสังคม เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาดังกล่าว จึงควรส่งเสริมให้ทุกคนพัฒนาจิตด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นการพัฒนาจิตให้รู้เท่าทันโลก รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน อันจะเป็นผลให้จิตบริสุทธิ์และเกิดปัญญา การฝึกพัฒนาจิตใจของตนเองในด้านสติด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำจะทำให้นิสิตมีสติตั้งมั่น จึงทำให้มีการคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ จดจำ และบันทึกเนื้อหาที่สำคัญของคำบรรยายไว้ได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาจิตใจความเป็นมนุษย์ในด้านต่างๆด้วยความรู้ทางอินเตอร์เน็ต

2

ในสังคมปัจจุบันที่โลกได้หมุนเวียนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ขนาดของโลกถูกย่อขนาดให้เล็กลงเหลือเพียงขนาดเท่าฝ่ามือเท่านั้น ทุกสิ่งอย่างไม่มีความว่าเป็นไปไม่ได้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านวิชาการ วิเคราะห์ วิจัย ให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้น เพื่อสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือไม่ก็ตอบสนองต่อความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ชีวิตมีความสุข แต่นั่นก็เป็นเพียงความสุขของชีวิตที่เพิ่มขึ้นเฉพาะด้านกายภาพเท่านั้น ซึ่งเป็นการยึดติดกับวัตถุ แต่ความสุขด้านจิตใจดูเหมือนจะไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ซ้ำร้ายอาจลดลงอีกด้วย เนื่องจากต้องปรับชีวิตให้เข้ากับสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งการสนองต่อความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ซึ่งทำให้เกิดการขาดสุขภาวะทางจิตปัญญา เกิดปัญหาต่างๆ เช่น เครียด เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ฯลฯ

สุขภาวะทางจิตปัญญา หมายถึง สภาวะสงบสุข เป็นความสุขที่แท้จริงที่หลุดพ้นจากการยึดติดกับวัตถุ เป็นภาวะที่เปี่ยมล้นด้วยความปิติ อิ่มเอิบ มีความอ่อนโยน เบิกบานจิตใจสงบนิ่ง ไม่วุ่นวาย สับสน มีพลังในการมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความหมาย มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน พึงพอใจในชีวิต มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงและมีความสามารถในการเผชิญและแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในภาวะวิกฤตได้อย่างเหมาะสม

การฝึกให้เกิดสติอย่างต่อเนื่อง หรือการฝึกระลึกรู้การเคลื่อนไหวของกายและจิตในปัจจุบัน แต่ละขณะๆด้วยความต่อเนื่อง การเจริญสติอย่างต่อเนื่องและยาวนานมากพอ จะทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง ต่อสุขภาพกายและจิต สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวเนื่องกับทางจิตและทางกายได้หลาย อย่าง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจิต ทำให้ผู้เจริญสติมีจิตที่มีความสงบสุข เยือกเย็น อิ่มเอิบ และแจ่มใส ส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้การทำงานของสมองเป็นระเบียบ ระบบประสาทผ่อนคลายและลดความตึงเครียด มีการปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และมีการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น การเจ็บป่วยทางกายเกิดน้อย และเมื่อเจ็บป่วย ร่างกายจะฟื้นฟูตัวเองได้เร็ว ฯลฯ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม

ประเทศไทยได้รับผลสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาเศรษฐกิจ

แต่ก็มีปัญหาสังคมทางด้านพัฒนาจิตใจ และสถาบันครอบครัวตลอดจนวัฒนธรรมตามมา ซึ่งการให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านจิตใจ วัฒนธรรมและสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต่อการมีเสถียรภาพของสังคมไทยต่อไป เนื่องจากการลดอัตราการเพิ่มประชากรทำให้ครัวเรือนมีขนาดเล็กลงและมีผลให้ลักษณะของครอบครัวที่อยู่ร่วมกันหลายชั่วอายุคนเริ่มเสื่อมคลาย เกิดครอบครัวในลักษณะครอบครัวเดี่ยวหลายลักษณะ การที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นนี้ ทำให้ระบบความมั่นคงทางสังคมของสถาบันครอบครัวซึ่งเคยมีมาแต่เดิมต้องเปลี่ยนไป

ระบบเศรษฐกิจของสังคมสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ

เช่น การแตกสลายของครอบครัวในชนบท ปัญหาโสเภณีเด็ก โรคเอดส์ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นผลกระทบจากการพัฒนาที่คำนึงถึงแต่ความร่ำรวยทางด้านเศรษฐกิจทั้งสิ้น การพัฒนาควรมาจากรากฐานของตัวเองคือจากวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของสังคมทั้งมวล ถ้าพัฒนาโดยทุบรากฐานของตัวเองทิ้ง เอาแบบอย่างของคนอื่นมาเป็นฐานการพัฒนานั้นย่อมโยกคลอน ไม่มีความมั่นคงและก่อให้เกิดความวุ่นวายในที่สุด นอกจากนั้นการพัฒนาจะต้องเชื่อมโยงธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ สังคมเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การพัฒนาเฉพาะอย่าง

สังคมไทยที่พึงปรารถนา คือ สังคมที่ดีงาม และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เป็นสังคมแห่งความพอเพียงและสันติ มีเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ทอดทิ้งกัน มีความเป็นธรรม มีวัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความเข้มแข็งทางสังคม และสามารถรักษาสมดุลในตัวเอง และกับโลกภายนอกท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง สำหรับแก่นที่แท้จริงของสังคมอยู่เย็นเป็นสุข คือ คนในสังคมมีคุณธรรมโดยมีพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนที่จิตใจให้มีความคิดในทางที่ถูกต้อง เกิดปัญญาในทางที่ชอบ

การพัฒนาจิตใจและการสร้างค่านิยมที่ดีงาม

(1)ปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอน โดยเน้นวิธีการฝึกอบรมในเชิงวิทยาศาสตร์ที่สอนให้คนคิดในเชิงวิเคราะห์
(2)ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องศาสนาและจริยธรรมในสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมเพื่อให้เป็นส่วนสำคัญ
(3)ปรับปรุงสื่อสารมวลชนของรัฐและจูงใจสื่อสารมวลชนของเอกชนให้ผลิตรายการและเผยแพร่ข่าวสารที่ช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจและศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
(4)ให้ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรมและวัฒนธรรมโดยการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
(5)ยกย่อง สนับสนุน และประกาศเกียรติคุณคนดีในทุกสาขาอาชีพที่มีความประพฤติดีและปฏิบัติตามศีลธรรม คุณธรรม หลักธรรม วินัยของศาสนา
(6)จัดให้มีสถานพักผ่อนหย่อนใจเพื่อเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีเพิ่มขึ้น เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามเด็กเล่นและห้องสมุด
(7)ควบคุมและปราบปรามแหล่งมั่วสุมและแหล่งอบายมุขต่างๆ