ประเภทของระบบห้องเย็น

ระบบห้องเย็นแช่เย็นเฉียบพลัน (Air Blast Chill Room )

มีไว้สำหรับลดอุณภูมิเพื่อรอกระบวนการต่อไป หรือ เพื่อควบคุมเชื้อแบคทีเรีย หรือเพื่อให้เอ็นไซย่อยเนื้อในขบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ห้องเย้นเฉียบพลัน จะมีข้อกำหนดของเวลาเข้ามาด้วย

อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : 2 ถึง -10 องศาเซียลเซียส หรือ ขึ้นอยู่กับสินค้า

ระบบห้องเย็นแช่แข็ง (Freezer Room)

มีไว้สำหรับ ลดอุณหภูมิ และเก็บสินค้า ในช่วงเวลานานๆ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า “จุดเยือกแข็งของตัวสินค้านั้นๆ”เช่น ปลาแช่แข็ง เก็บรักษาที่อุณภูมิ -17.8  ถึง -23.3 องศาเซียลเซียส สามารถเก็บรักษาได้ระยะเวลา 8 ถึง 10 เดือน

อุณหภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : ตั้งแต่ -5 ถึง -25 องศาเซียลเซียส หรือ ขึ้นอยู่กับสินค้า

ระบบห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room )

มีไว้สำหรับ เก็บรักษาสินค้า ซึ่งสินค้าถูกผ่านการแช่แข็งมาแล้ว โดยที่สินค้าที่นำมาเก็บมีอุณภูมิ “ต่ำกว่า” หรือ “เท่ากับ” อุณหภูมิของห้องเก็บรักษาสินค้า ในการคำนวณโหลดทำความเย็นไม่จำเป็นต้องคิดค่าความร้อนจากตัวสินค้า

อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -25 องศาเซลเซียส หรือ ขึ้นอยู่กับสินค้า

ระบบห้องเย็นแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room )

มีไว้สำหรับ Freez สินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลเกิดความเสียหาย การ Freez สินค้าแต่ละประเภท แตกต่างกัน เช่น การ Freez ผัก และผลไม้ จะต้อง Freez เร็ว ไม่ทำให้ผนังเซลเกิดแตก ซึ่งการเกิดจากน้ำภายในเซลเปลี่ยนสถานะจากของเหลว เป็นของแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง) หรือการ Freez อาหารทะเลส่งออก จะต้องพยายามไม่ทำให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซล เพราะจะทำให้เซลช้ำ โดยทั่วๆไปห้องแช่แข็งลมเย็นจัด จะมีขนาดความจุของสินค้าได้ 2.5 Tons จะใช้เวลาในการ Freez ประมาณ 4-5 ชม. โดยข้อกำหนดจะต้องดึงอุณภูมิได้ไม่เกิน 6 ชม.

อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -35 องศาเซีลเซียส หรือขึ้นอยู่กับสินค้า

ระบบห้องเย็นพักสินค้า  ( Anti Room )

มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิของอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูง ไหลเข้าห้องแช่แข็งลมเย็นจัด (Air Blast Freezer Room )

หรือ ห้องเก็บที่มีอุณหภูมิต่ำๆ ห้องนี้บางครั้ง ก็มีไว้สำหรับพักสินค้า หรือ กระจายสินค้าบ้างในตัวเอง อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ   อุณภูมิใช้งานที่ต้องการส่วนใหญ่ ประมาณ : -5 ถึง +10 องศาเซลเซียส หรือ ขึ้นอยู่กับชนิดของการทำงาน

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับห้องเย็นได้ที่  http://www.harn.co.th/unit-coolers-ทำความเย็น-ห้องเย็น/

 

 

บทสรุปของความสำคัญของการสอบเทียบเครื่องมือวัด (calibration)

บทสรุปจากการสอบเทียบ(calibration)เมื่อนำมาพินิจพิจารณา จะทำให้สามารถระบุได้ว่าเครื่องมือวัดควรจะใช้ต่อไปหรือจำเป็นต้องปรับแต่งผลสรุปจากการสอบเทียบ ทำให้ แน่นอนได้ว่าเครื่องวัดที่ใช้ในการวิเคราะห์ยังคงปฏิบัติราชการได้อย่างแม่นยำพร้อมกับยึดมั่นได้ ผลลัพธ์การสอบเทียบหลายๆ ครั้ง ยังแสดงให้เห็นคุณภาพทางด้านความมั่นคง ( Stability ) ของวัสดุวัด

ขณะใดที่ต้องสอบเทียบ

มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าเครื่องมือวัดใดที่ต้องลงมือสอบเทียบ พร้อมด้วยจะสอบเทียบบ่อยเพียงใดพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า การสอบเทียบวัสดุอุปกรณ์วัดจะต้องทำเวลาใดก็ตามที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นเปรียบเปรยต่อคุณลักษณะของข่าวสารดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลพวงต่อคุณลักษณะของข่าวก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ การระบุว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบบ้างคงจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ ให้ตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจหาอ่านค่าผิดไปจากข้อบังคับที่กำหนดไว้ จะได้รับผลพวงที่เสียหายต่อคุณลักษณะของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของวัสดุวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่ามาตรวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบด้วยกันอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่ข้าราชการมีสาเหตุที่จำเป็นต้องเชื่อมั่นในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบตัวอย่างเช่น เรื่องของความสะดวก

กิจกรรมสอบเทียบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ค่าใช้จ่าย แต่การสอบเทียบก็มีความจำเป็นเพราะหากพินิจพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าราคาความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับข่าวสาร เมื่อใช้เครื่องมือวัดที่ไม่เป็นหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการตรวจตรา ซ้ำ อาจสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบเครื่องมือวัด การสอบเทียบที่ทำมากเกินความจำเป็นก็อาจก่อให้เกิดการหมดไป งบประมาณขององค์กรเกินความจำเป็นเช่นเดียวกัน

 

 

 

 

 

 

ชุดประจำการชนชาติของชาวญี่ปุ่น(ชุดกิโมโน)

ถ้าหากจะอ้างอิงถึงชุดประจำชาติของชาวญี่ปุ่นที่รู้จักมักคุ้นกันดีคงหนีไม่พ้นชุดกิโมโนที่รู้จักกันดีไปทั่วโลก โดยชุดประจำชาติอย่างกิโมโนหรือชุดญี่ปุ่น (WAFUKU)เป็นชุดที่เน้นย้ำการตัดเย็บเสื้อผ้าอาภรณ์แบบเส้นตรงจากผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้าจึงสามารถใส่ได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นชุดประจำชาติที่มีความสะดุดตา อย่างมากตรงที่สามารถใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนความแตกต่างของชุดกิโมโนที่ใส่ตามฤดูกาลนั้นจะอยู่ที่การเลือกใช้เนื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ส่งผลให้ชุดกิโมโนสมรรถใส่ได้สม่ำเสมอนั่นเอง

โดยชุดกิโมโนในคำพูดญี่ปุ่นนี้แปลว่า”เครื่องแต่งกาย, เครื่องแต่งกาย, เครื่องอาภรณ์” ที่มีวิวัฒนาการควบคู่มากับความเป็นมาของประเทศญี่ปุ่น และได้รับคอสะพัดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงประจุบัน ซึ่งจากความนิยมชมชอบนี้ทำให้ไม่ใช่แค่เพียงคนแก่แต่ที่แบบใส่ชุดกิโมโน สมมตแต่วัยรุ่น หรือวัยทำงานก็ยังการตั้งกฎเกณฑ์ใส่ชุดนี้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน อีกหนึ่งความน่าสนใจของชุดกิโมโน คือ สามารถใช้เป็นมรดกทำให้ตลอดแก่ลูกหลาน เนื่องจากชุดกิโมโนเป็นชุดที่มีราคาสูง มีให้เลือกเฟ้นสวมใส่ทั้งแบบผ้าปกติธรรมดา ไปจนกระทั่งชุดที่ทำจากผ้าไหมชั้นยอด

แม้กระนั้นกิโมโน จะมีชุดที่คล้ายกันอย่างชุดยูคาตะ แต่ก็มีความห่างไกลทางด้านการใช้งานกันอยู่ปานกลาง เช่นชุดกิโมโนมักจะใส่ในระเบียบแบบแผนที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นทางการยิ่งกว่า และมักทำด้วยผ้าไหม หรือผ้าที่จิตรที่ปราณีตยิ่งกว่าชุดยูกาตะที่มักทำมาจากผ้าฝ้าย มีผ้าคาดเอวหรือโอบิที่ใหญ่กว่า มีจำนวนชิ้นมากกว่า และมีราคาที่แพงกว่าชุดยูกาตะเช่นกัน

หากจะให้เทียบกันจะพบว่าชุดยูกาตะนั้น จะเสมือนชุดที่ใส่แบบลำลองและมักมีไว้ให้บริการเช่าตามแหล่งเตร็ดเตร่ต่าง ๆ เพราะมีชั้นผ้าปิดแค่เพียงชั้นเดี่ยวทำให้สวมสบายต่างกับชุดกิโมโนที่จะต้องมีอย่างน้อย 2 ชั้นขึ้นไป และชุดกิโมโนมักใส่กับรองเท้าแบบโซริหรือกีตะนั่นเอง

 

เสริมความงามด้วยการฉีดฟิลเลอร์

ความสวยความงาม ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการมีหน้าตาที่สดใส เต่งตึง ไร้ริ้วรอยถือเป็นอีกส่วนหนึ่งของการส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดีและเพิ่มความมั่นใจให้กับบุคคลนั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีทางด้านความงามก้าวรุดหน้าไปมากอย่างเช่นในปัจจุบันจึงส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่หันมาสนใจในเรื่องของความงามกันมากขึ้นไปด้วย และหนึ่งในวิวัฒนาการของการเติมริ้วรอยร่องลึกบนใบหน้าให้กลับมาเติมเต็มอีกครั้งนั่นคือการฉีดฟิลเลอร์ (Filler) ซึ่งเป็นสารเติมเต็มมาแก้ในการปัญหาริ้วรอยก่อนวัยที่หน้าผาก มุมปาก ร่องแก้ม หรือริ้วรอยรอยนั่นเอง

ฟิลเล่อร์ (Filler)  เป็นสารเติมเต็มตามธรรมชาติ ที่ส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับฉีดหรือเพื่อเสริมเติมเต็มในส่วนริ้วรอยร่องลึกของชั้นผิวใต้ผิวหนังให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งทางการแพทย์นอกจากจะใช้ฟิลเลอร์ในการเติมเต็มริ้วรอยตามจุดต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังนิยมใช้สำหรับการปรับแต่งแก้ไขรูปหน้าไม่ว่าจะเป็นการเติมริมฝีปาก ร่องแก้ม และทำให้ผิวกลับมาดูกระชับเปล่งปลั่งทั้งบริเวณใบหน้า ลำคอ หลังมือ หรือผิวบริเวณหน้าอกก็สามารถทำได้เช่นกัน

นอกจากนี้การ เติมร่องลึกโดยการฉีดฟิลเลอร์ยังถือว่าเป็นการลดริ้วรอยที่เห็นผลมากกว่าการใช้ครีมทาผิวหรือการเลเซอร์ที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู เพราะใช้เวลาเพียง 15-30 นาที และสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการฉีดโดยไม่ต้องต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล

สว่าน Bosch เชี่ยวชาญในเรื่องเจาะรู

สว่าน เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเจาะรูบนพื้นผิววัสดุต่าง  ๆ ทั้งงานผนังปูน งานไม้ งานโลหะ ซึ่งตัวสว่านจะต้องใช้งานควบคู่กับดอกสว่านที่หมุนได้ขนาดต่าง ๆ  โดยดอกสว่านนั้นจะยึดอยู่กับเดือยด้านหนึ่งของสว่าน เวลาจะเจาะต้องทำการหมุนปลายดอกสว่าน ให้กดลงไปบนวัสดุที่ต้องการเพื่อให้ปลายดอกสว่านทำหน้าที่เจาะลงบนพื้นวัสดุเพื่อเป็นรูตามขนาดที่ต้องการ

ในปัจจุบันสว่าน มีให้เลือกใช้งานทั้งหมด 5 ชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ได้แก่สว่านไขควงไฟฟ้า สว่านไฟฟ้า สว่านกระแทก สว่านโรตารี และสว่านไร้สาย

และสำหรับใครที่กำลังหาต้องการหาซื้อสว่านมาเพื่อใช้งาน รวมถึงกำลังมองหาสว่านที่มีคุณภาพ รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ผลิตภัณฑ์สว่าน Bosch ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีสว่านหลายรูปแบบให้เลือกตามการใช้งานไม่ว่าจะเป็น

  • สว่านกระแทก มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาด 10 – 16 มม. แล ะสว่านกระแทกความเร็ว 2 ระดับ มีรอบความเร็วขณะเดินเครื่อง0 – 2600 รอบ/นาที น้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม สามารถเจาะได้ทั้งคอนกรีต ไม้ และเหล็กกล้า สามารถเลือกความเร็วได้และหมุนปรับระดับได้ทั้งซ้ายและขวา
  • สว่านไฟฟ้า มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาด 6 – 13 มม. สว่านความเร็ว 2 ระดับ และสว่านไขควงพร้อมตั้งระยะลึก สว่านขนาดกระทัดรัด เหมาะสำหรับงานเจาะที่มีความรวดเร็วและแม่นยำ ใช้งานต่อเนื่องได้สะดวก มือจับออกแบบมาเพื่อลดความเมื่อยล้าขณะใช้งาน มีความแข็งแรงและทนทาน มีรอบความเร็วเมื่อเดินเครื่องเปล่า 4200 รอบ/นาที เหมาะสำหรับการเจาะไม้ เจาะเหล็กกล้า และงานโลหะ

วิธีบริหารจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

Happy Young Woman

 

การควบคุมจิตมีผลต่อสุขภาพร่างกาย สมอง และจิตใจ พอๆ กับการบริหารกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยการกระตุ้นให้เกิดการงอกความคิดใหม่และการปรับวงจรใหม่ของเซลล์สมอง ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาจิตใจให้สมบูรณ์ และมีความสุขสงบ

1. นอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง/ต่อวัน

การนอนหลับดีมีผลต่อการพัฒนาสมอง หลีกเลี่ยงการอดนอนและการมีอารมณ์เครียดติดต่อกันนานๆ เพราะมีผลลบต่อร่างกาย สมอง และจิตใจ

2. ฝึกสมาธิ

ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ ไหว้พระ เดินจงกรม อธิษฐานจิตวันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาที ช่วยให้จิตใจมั่นคงสงบนิ่ง ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ หรือใจลอยง่าย  ควรรักษาจิตที่นั่งแต่ตื่นรู้ไว้ตลอดเวลาของการปฏิบัติสมาธิ อย่าให้นานจนหลับหรือเข้าสู่ภวังค์ จะทำให้จิตเฉื่อยเนือย นำมาใช้งานในการรับรู้สิ่งเร้าอย่างรู้เท่าทันไม่ได้ ซึ่งต่างจากสติ

3. ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะ ๆ ในแต่ละวัน

หยุดคิด โดยหันมาชื่นชมธรรมชาติ หรือศิลปะ ตามดูห้วงว่างระหว่างความคิด ลมหายใจเข้าออกและเสียงต่างๆ หามุมสงบในบ้าน ในที่ทำงาน หรือในสวน นั่งปล่อยวางอารมณ์อย่างเงียบๆ การพักใจและสมองช่วยให้มีพลังในการทำงานได้ไม่เหนื่อยล้า

4. ฝึกคิดดี-พูดดี-ทำดี ให้เป็นนิสัย

ช่วยถ่วงดุลกับธรรมชาติของจิตที่มักคิดลบซึ่งเป็นไปตามกลไกลมองที่มักถูกครอบงำด้วยความมีอัตตาตัวตน นิสัยความเคยชินเดิม และอารมณ์ลบ

ออกกำลังกาย

วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก เป็นต้น ในการออกกำลังกายสามารถบริหารจิตไปในตัว โดยการใช้สติระลึกรู้อยู่กับจังหวะการเคลื่อนไหว ในช่วงแรกอาจใช้วิธีนับ เช่น นับซ้าย-ขวา นับ 1-2 หรือ 1 ถึง 10 กับจังหวะก้าว เป็นตัวช่วยจนสติมั่น ก็ไม่ต้องนับ

นอกจากนี้ควรหมั่นมีจิตอาสาทำงานเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่น , ฝึกฟังคนอื่นและเข้าใจคนอื่น , รู้จักให้กำลังใจผู้คนรอบข้าง ,  ฝึกตามดูรู้ทันความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมตัวเองได้ดี

การพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยตัวเอง

“สุขภาพจิตของตัวเองถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเราจะต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อนจึงแบ่งปันสู่คนอื่นได้ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม รวมถึงต้องสามารถเผชิญกับปัญหาและความจริงของชีวิตได้ดี มีภูมิคุ้มกัน เมื่อนั้นเราก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี”

Attractive woman holding her head

“สุขภาพจิตใจ” เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข ฉะนั้น การ “ส่งเสริมสุขภาพจิต” จะช่วยให้คนในสังคม ปรับชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งการเรียน การทำงาน สังคม ความคิด และอารมณ์ ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชได้ โดย ผศ.นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายหลักการส่งเสริมสุขภาพจิตให้ฟังว่า สามารถทำได้โดยการสร้างปัจจัยป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุปัญหาสุขภาพจิต ดังนี้

  1. การส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรงปราศจากโรคด้วยการออกกำลังกาย
  2. การส่งเสริมทางจิตใจ เช่น การฝึกสู้ปัญหาให้เกิดความเคยชิน ไม่หลบเลี่ยง พัฒนาตนเองให้ปรับตัวได้มากขึ้นเมื่อพบปัญหา มองโลกในแง่บวก สนุกไปกับการเปลี่ยนแปลง หาทางแก้ปัญหาอย่างท้าทายและลงมือแก้ไขที่สาเหตุ หรือไม่ก็หากิจกรรมสร้างความสุขคืนความสงบให้กับตัวเอง การมีความสุขจากการเป็นผู้ให้ก็ย่อมทำได้เช่นกัน นอกจากนี้ การมีที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้และให้คำแนะนำ ก็ช่วยให้หลายคนห่างไกลจากการป่วยด้านสุขภาพจิตได้

3.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเอง  ด้วยบรรยากาศผ่อนคลาย เน้นสงบปราศจากสิ่งเร้า ที่สำคัญควรจัดแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนหย่อนใจให้สมดุลกัน เช่น ทำงาน  8 ชั่วโมง พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย 8  ชั่วโมง อีก 8 ชั่วโมงที่เหลือคือเวลานอน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่

แต่ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขที่สาเหตุได้ ยังมี “เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง” เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผศ.นพ.พนม แจงว่า สามารถทำได้ผ่านการ ฝึกสมาธิ สติ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  การฝึกลมหายใจ (breathing exercise) เล่นกีฬาที่ได้ระบายอารมณ์แต่มีกติกาปลอดภัย นวดกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็งปวดให้คลายออก ช่วยให้ความเครียดลดลง โดยผู้นวดต้องได้รับการฝึกอย่างดี การไปพักผ่อนในที่ผ่อนคลาย หรือการฟังดนตรีนุ่มนวลจังหวะไม่เกิน 60 ครั้งต่อนาที ไม่ควรมีเนื้อร้อง และควรเป็นเสียงธรรมชาติ การทำงานศิลปะต่างๆ ก็สามารถทำให้ผ่อนคลายได้เช่นกัน

“อีกวิธีหนึ่งคือการฝึกประสาทอัตโนมัติ ซาวน่า  โดยการแช่ในน้ำเย็นจัดสลับกับการอบไอน้ำร้อนจัด อย่างละ  10-20  นาที เพื่อให้ประสาทอัตโนมัติเกิดการเปลี่ยนแปลงตามอย่างรวดเร็ว  แต่วิธีนี้ควรทำเมื่อร่างกายแข็งแรง” ผศ.นพ.พนมกล่าวกำชับ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวโดยสรุปว่า การเรียนรู้เตรียมตัวและฝึกฝนให้เผชิญกับชีวิต สามารถเริ่มได้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยผู้ปกครองควรส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ผ่านความสุขแบบพอเพียงตามแนวคิดโครงการ Happy Workplace โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้พัฒนาเป็นบุคลิกภาพที่ดี มีสุขภาพจิตที่ดี  ในอนาคต ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และมีความสุขในการดำเนินชีวิตสืบไป

ความสามารถในการจัดการด้านอารมณ์ของตนเอง

crying-babyอารมณ์เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่เราสามารถรู้สึกถึงสภาวะทางอารมณ์ของบุคคลที่แวดล้อมเราอยู่ได้ เช่น อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมที่มิได้แสดงออกเป็นภาษาหรือคำพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง  แต่อาจเกิดความสับสนในการตีความหมายได้เพราะสังคมแต่ละแห่งอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน อารมณ์ทุกอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยอารมณ์ในแง่ลบ เช่น อารมณ์โกรธและอารมณ์เศร้าที่มักทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลมาก ดังนั้นบุคคลจึงควรที่จะสำรวจตัวเองและยอมรับว่าตนเองกำลังอยู่ในสภาวะอารมณ์อะไร และฝึกหัดที่จะระบายและควบคุมตัวเองได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ หรือรู้จักที่จะยับยั้งหรือควบคุมอารมณืที่ไม่เหมาะสมให้ได้

การเข้าสู่สถานการณ์ที่กระตุ้นอารมณ์จะทำให้รู้สึกตึงเครียดจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ การฝึกการผ่อนคลายจะทำให้รู้สึกว่าสามารถใช้ความคิดพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น มองในมุมที่เป็นบวก ใช้เหตุผลให้มากขึ้นในการแสดงออก เมื่อตั้งสติได้และรู้สึกว่าเรากำลังถูกเร้าด้วยอารมณ์ การผ่อนคลายตนเองที่ดีคือการดึงความสนใจของตัวเราเองออกจากสิ่งที่กำลังเร้าอารมณ์เรา เพราะอารมณ์ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งส่งผลต่อผู้อื่นด้วย การจัดการกับอารมณ์เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วย วิธีการและเทคนิคต่างๆ เช่นการควบคุมอารมณ์ทางลบให้มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ถือเป็นการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถทางอารมณ์ที่มีความจำเป็นในการใช้ชีวิต และส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิตด้วย

การควบคุมอารมณ์เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอารมณ์ในทางลบ เช่น ความโกรธ ฉุนเฉียว อารมณ์ทุกอย่างเกิดขึ้นกับเราได้ แต่มิใช่จะแสดงออกไปทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา ผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ย่อมสามารถควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมตามแต่สถานการณ์ รู้จักระบายอารมณ์ออกในรูปแบบที่เหมาะสม การมองสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในทางบวก รู้จักมองบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแง่มุมอื่นที่ต่างไปจากเดิม ฝึกตนเองให้มีอารมณ์ขัน การฝึกคิดหรือมองสิ่งต่างๆในหลายๆแง่มุมจะทำให้เราไม่ติดกรอบหรือติดกับมายาคติที่สร้างขึ้น

พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์

พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์ ที่ควบคู่มากับการพัฒนาการทางร่างกาย มนุษย์แต่ละคนที่เกิดขึ้นมาควรมีโอกาสได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ ให้เต็มศักยภาพที่ได้รับมาตามธรรมชาติ อะไรที่เป็นธรรมชาติเรายังมีความสามารถไปแก้ไขได้น้อยมากในขณะนี้ เช่น พันธุกรรมด้านต่างๆที่ติดตัวมาเนื่องจากได้ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของตน เช่น สีผม รูปร่าง ความฉลาด โรคบางชนิด แต่ส่วนที่เราสามารถทำได้ดีคือ ส่วนที่เป็นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้วโดยจัดสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมที่สุดที่เด็กจะพัฒนาไปอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อตนเอง และสังคมส่วนรวมต่อไป

พัฒนาการที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกัน จิตพยาธิสภาพ (psychopathology) ต่างๆ ได้มากมาย 1เช่น บุคลิกภาพปรวนแปรต่างๆที่มีความร้ายแรงไม่แพ้โรคร้ายๆทางกาย คล้ายโรคมะเร็ง เบาหวานและโรคอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอต้องพึ่งพิงผู้อื่นเสมอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้เอง อารมณ์ปรวนแปรเสมอ ก็มีสภาพไม่ต่าง

กับผู้ที่มีโรคร้ายที่ทำให้เป็นอัมพาตจนเดินไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ป่วยทางใจแบบนี้ก็เปรียบเสมือนมีอาการ “อัมพาต” ทางจิตคือ ร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวัย แต่กลับต้องเป็นภาระของผู้อื่นอีก ฉะนั้น พัฒนาการทางจิตใจที่ดีจึงจะช่วยให้คนๆ นั้นเติบโต มาแล้วมีความปกติสุขต่อไป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางจิตใจ

เมื่อแรกเกิดมนุษย์มีสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย2,3 ต่างจากสัตว์โลก อื่นหลายชนิด เช่น เต่าออกจากไข่จะสามารถคลานลงทะเลไปหากินเองได้เลยโดยไม่ต้อง พึ่งพ่อแม่ สภาพช่วยตัวเองไม่ได้ของทารกนี่เองที่ทำให้พัฒนาการของมนุษย์เราขึ้นกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมมาก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีที่เหมาะสม

ถึงอย่างไรก็ตามปัจจัยทางชีวภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ก็ยังเป็นรองกว่าปัจจัยจาก สิ่งแวดล้อม เนื่องจากพัฒนาการทางจิตใจมีปัจจัยหลายอย่างมาก แต่พอจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ

1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) คือสิ่งที่ติดตัวเด็กมาแต่ แรกเกิด

2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) สิ่งแวดล้อมคือ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กมาปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและพัฒนาตนเอง จนกระทั่งมี ลักษณะเฉพาะของตัวเอง

พัฒนาการทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คนเราเป็นคนที่มีคุณภาพดี มีจิตใจปกติ สามารถมีความสุข มีความรับผิดชอบ ปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆ สามารถทำหน้าที่ของตนได้ในครอบครัวและสังคมที่ตนอยู่ อีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พัฒนาการที่ดีต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวภาพของเด็กกับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา

ผู้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของตนที่จะช่วยพัฒนาเด็ก และป้องกันปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ หรือเมื่อพบว่ามีความเบี่ยงเบนของพัฒนาการก็ควรรีบแก้ไข ทำเองหรือขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เด็ก หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตอื่นๆ แต่ถึงอย่างไรการป้องกันย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อนเสมอ

แนวทางการพัฒนาคุณภาพจิตใจ

ชีวิตจะมีความสุขอย่างแท้จริงนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตปัญญาและคุณภาพจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยการคิดทบทวน ไตร่ตรองเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือการเห็นหรือซึมซับจากประสบการณ์ของคนอื่น การจะพัฒนาจิตใจได้จะต้องมีการฝึกฝน ปฏิบัติ โดยสามารถกระทำได้ดังนี้

– ทบทวนตนเอง มีเวลาอยู่กับตัวเองอย่างแท้จริง ทำให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณค่าความหมายของชีวิตและมีความสุขกับคุณค่าของชีวิตที่เป็นอยู่

– การปล่อยวาง นั้นเป็นเรื่องของการทำจิตเพื่อไม่ให้ทุกข์ใจเข้าใจความจริงของชีวิต

– ควบคุมและจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง จากการทำงานที่ต้องเผชิญกับภาวะอารมณ์รุนแรงของผู้อื่น ความกดดันจากการทำงาน ความเสี่ยงในการใช้ชีวิต

– การได้สัมผัสและซึมซับความทุกข์ ความทุกข์ทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและเรียนรู้ซับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นแรงขับที่ทรงพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิธีคิดหรือเกิดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาจิตปัญญาได้อย่างรวดเร็ว

– การศึกษาธรรมหรือปฏิบัติธรรม เพราะการยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มีการพัฒนาจิตใจและปัญญาได้อย่างมั่นคง

– การมีสติกับการใช้เทคโนโลยี โดยอย่าให้เทคโนโลยีเข้ามากระชากสติของเราไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ก็ตาม

– การเจริญสติและการฝึกวิปัสสนา เป็นการฝึกให้เกิดสติอย่างต่อเนื่อง เพราะการเจริญสติอย่างต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายและจิตใจ สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคได้หลายอย่าง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจิตใจ ทำให้ผู้เจริญสติมีจิตใจที่สงบสุข เยือกเย็น อิ่มเอิบและแจ่มใสส่งผลดีต่อร่างกายและการทำงานของสมอง เมื่อระบบประสาทผ่อนคลายก็จะสามารถลดความตึงเครียดได้ และสามารถปรับตัวของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น การเจ็บป่วยทางกายก็จะเกิดน้อยลง

จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพจิตใจนั้นสามารถกระทำได้อย่างง่ายโดยต้องเริ่มจากตนเองเสียก่อน เพราะสภาพจิตใจที่เป็นสุขสามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิต อีกทั้งวางตัวได้อย่างเหมาะสมและปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกายได้อีกด้วย

การใช้สมาธิในการขจัดความเครียด

      

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนหรือสังคมใด  คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ  โดยที่ความเครียดจะฟ้องออกมาทางร่างกายด้วยอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง  ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์  หงุดหงิดง่าย ว้าวุ่นใจ ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้ที่มีความเครียดสูงเป็นเวลานานจะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ทำให้ความรับผิดชอบต่อการงาน ครอบครัวและสังคมลดลง มีโอกาสที่จะติดยาและสารเสพติดได้ง่าย  เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีแนวทางประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุข ความราบรื่นในงาน ในครอบครัวและในสังคมรอบข้างอย่างครบถ้วนด้วยกัน คือ

1.การมีสติ เป็นการพัฒนาฝีมือของเราขึ้นมาก หากแม้จะไม่สงบก็ลดความฟุ้งซ่านได้

2.การใช้สมาธิ อย่างเช่น เมื่อรู้สึกเหนื่อยจากการทำงาน งานก็จะผิดพลาดเป็นประจำ คิดอะไร เขียนอะไร จำอะไรก็ไม่ดี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ต้องใช้ความอดทน การนั่งเฉย ๆ แล้วเอาจิตมาผูกกับลมหายใจ เพียงแต่รับรู้ลมหายใจเข้าออกต่อเนื่อง ตามลมหายใจ ความคิดก็ค่อย ๆ ก็สามารถช่วยให้การทำงานนั้นลดการผิดพลาดลงได้

3.การอยู่กับปัจจุบัน โดยแบ่งความสุขไปยังทุกคนในที่ทำงานทุกทิศทุกทาง ทำความรู้จักกับลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ใครที่ทำให้ตนเองทุกข์ใจ ร้อนใจ ขัดเคืองก็ให้อภัยเขา ไม่เอามาคิด ที่จะทำให้ใจของเราเป็นสุข

4.การปล่อยวาง โดยการไม่จมอยู่กับงานนั้นๆจนเกินไป ไม่หมกมุ่นอยู่กับอดีตที่ผ่านไป

5.การสวดมนต์ จะทำให้จิตใจของเรายึดมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นการฝึกจิตให้สงบและมีสมาธิ เชื่อว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในร่างกายและสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

จะเห็นได้ว่า การใช้สมาธิในการขจัดความเครียดสามารถกระทำเองได้โดยไม่ต้องลงทุนอีกด้วย ทั้งยังมีมีประโยชน์ตัวเราเองที่จะทำมีความสุข ความสัมพันธ์กับเพื่อนรอบข้างก็ดี การทำงานก็ประสบความสำเร็จอีกทั้งยังมีคุณค่าต่อสังคมด้วย

การบริหารจิตใจให้แน่วแน่มั่นคงและเจริญปัญญา

20100003_13022115150035_237
ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ควรเข้าใจกฏเกณฑ์และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะชีวิตเรากับธรรมชาติที่แวดล้อมล้วนแต่มีคุณค่าที่เท่าเทียมกันจึงควรสนใจศึกษาให้ถ่องแท้โดยไม่ต้องไปสนใจกับพวกลาภยศชื่อเสียง ซึ่งเปรียบประดุจความฝัน มันไม่ใช่เรื่องจริงจังอะไรที่เราจะไปหมายมั่นยึดถือเป็นเจ้าของ การฝึกจิตปฏิบัติธรรมนอกจากเรามีสติแล้วจะต้องมีสัมปชัญญะด้วย คือการมีความรู้สึกตัวทั่วถึงว่าในขณะนั้นๆกำลังทำ พูดหรือคิดอะไรเป็นการรู้เท่าทันการณ์แล้วพิจารณาว่าจะเอาไว้หรือสลัดออกไปจากจิต เพราะการดำเนินชีวิตต้องประพฤติธรรมไปด้วยเพื่อเวลาที่เราฟังอะไรจะได้ยิน ดูอะไรจะได้เห็น ไม่ปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ เมื่อเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ย่อมแลเห็นความงดงาม ความอัศจรรย์ใจซึ่งประจักษ์อยู่ต่อหน้าเรา

พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการกระทำทุกอย่างจะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน การฝึกจิตหรือการบริหารจิตจึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา การบริหารจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคงโดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้นผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคง

การบริหารจิตและเจริญปัญญา

1.การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ คือผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ
2.การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง คือพยายามเข้าสมาคมกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคงด้วยการทำ การพูด และการแสดงออกอื่นๆ
3.การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วน คือคนใดที่มีสติฟั่นเฟือน หลงๆ ลืมๆ ซึ่งมีการกระทำการพูดผิดๆ ถูกๆ อยู่ตลอดนั้น
4.การมีใจน้อมไปในการมีสติ คืออยากเป็นคนมีสติมั่นคงโดยตัวเราเองต้องพยายามขวนขวายปลุกใจให้เห็นคุณค่าในการมีสติสัมปชัญญะแล้วปฏิบัติธรรมเพื่อนำจิตของตนให้เป็นสมาธิ

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความเครียด

4

สุขภาพจิตใจเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขการส่งเสริมสุขภาพจิตใจช่วยให้ปรับตัวในชีวิตให้เป็นประโยชน์ ทั้งการเรียน การทำงาน สังคม ความคิดและอารมณ์เป็นปกติ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช สภาพจิตใจที่เป็นสุข สามารถมีสัมพันธภาพและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นไว้ได้อย่างราบรื่น สามารถทำตนให้เป็นประโยชน์ได้ภายใต้ภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และลักษณะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ วางตัวได้อย่างเหมาะสม และปราศจากอาการป่วยของโรคทางจิตใจและร่างกาย

ชีวิตคนตั้งแต่เกิดมาต้องมีการปรับตัวให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีวิตความเครียดคือผลรวมของปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์ต่างๆ ความเครียดที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวแก้ไขปัญหาเกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์แต่ความเครียดที่มากเกินไปเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เกิดความไม่สบายใจทำให้เกิดอาการต่างๆ ทำให้ปรับตัวไม่ได้แก้ไขปัญหาได้ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงหรือเกิดโรคทางร่างกายหลายโรคที่อาการเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียดความเครียดจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทุกคนจะต้องเผชิญและฝึกฝนเอาชนะ แก้ไขปัญหาไม่เกิดอาการของความเครียดคนที่สุขภาพจิตดีคือคนที่มีวิธีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆหรือความเครียดได้ดี

คนสุขภาพจิตไม่ดีเมื่อเผชิญปัญหาในชีวิตจะเกิดอาการต่างๆทางจิตใจ อารมณ์ แสดงพฤติกรรมบางอย่างหรือปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายซึ่งแสดงภาวะไม่สมดุล บางคนอาจมีอาการแสดงออกมาเล็กน้อย เรียกว่าปัญหาสุขภาพจิตหรือมีมากจนเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่าโรคทางจิตเวชอาการทางอารมณ์ความเครียดทำให้ทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกวิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ไม่สบายใจ บางคนมีอารมณ์ซึมเศร้าท้อแท้ร่วมด้วย เบื่อ หงุดหงิด ไม่สนุกสนานสดชื่นร่าเริงเหมือนเดิม อารมณ์ซึมเศร้ามักเกิดร่วมกับการสูญเสียหรือพลาดหวังอย่างรุนแรง อารมณ์ไม่สบายใจเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆตามมา ได้แก่ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เพลีย เหนื่อยง่าย เหนื่อยหน่าย อาการทางจิตใจความคิดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ คิดไม่ดีคิดร้ายความคิดกังวลล่วงหน้าย้ำคิดย้ำทำ ไม่สามารถหยุดความคิดตนเองได้ความคิดควบคุมไม่ได้  คิดมาก มองตนเองไม่ดี มองคนอื่นไม่ดี มองโลกในแง่ร้าย ความเครียดถ้ามีมากและต่อเนื่องจะทำให้สมองมึน งง เบลอ ขาดสมาธิ ความคิดความอ่านและความจำลดลง การตัดสินใจช้า ไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตนเอง

การจัดการกับความเครียด ด้วยการพัฒนาจิตใจ

ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ โดยคนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ ซึ่งความเครียดโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก เป็นต้น ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์ หงุดหงิดง่าย ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้โดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างอีกด้วย รวมทั้ง ปัญหาของสังคม และอื่นๆด้วย เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจนั้นเป็นไปอย่างซับซ้อน ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ rhinovirus ทำให้เป็นหวัดได้ง่ายผู้ที่มีความโกรธบ่อยๆ ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้จิตใจของทุกคนเป็นเสมือนพลังงานทั้งในแง่ดีและร้าย ครอบครัวที่มีความขัดแย้งทำให้เกิดลูกที่มีปัญหา สังคมที่มีความเครียดสูงเป็นสังคมที่ขาดความสุขฉะนั้นแล้วหนทางสู่ความสุขด้วยการพัฒนาตนเองมีด้วยกันดังนี้
– การมีจิตสำนึกแห่งการพัฒนาตนเองผู้ที่ต้องการพัฒนาตนจะเตือนตนด้วยเสียงของมโนสำนึกภายในใจและแสวงหาคุณค่าทางจิตใจที่สูงกว่าคุณค่าของวัตถุ ไม่ปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามกระแสความต้องการทางวัตถุ
– มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงเหมาะกับการงานจะต้องมีสุขภาพที่ดี
– รู้จักความรักและการให้อภัย โดยฝึกการยอมรับในความแตกต่าง และตระหนักในคุณค่าของชีวิตผู้อื่นเช่นเดียวกับตนเอง มีความรักและเคารพในความเป็นชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
– มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยการทบทวนอดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน และวางแผนต่ออนาคตเพื่อให้สามารถก้าวเดินได้ไม่ผิดพลาด
– แบ่งปันรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ การยิ้มแต่ละครั้งทำให้กล้ามเนื้อนับร้อยมัดบนใบหน้าผ่อนคลาย
– ความสุขที่แท้คือความสงบซึ่งเป็นคุณสมบัติเดิมของจิตอีกอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับความรัก
– รู้จักปล่อยวาง กับปัญหาต่างๆที่จะก่อให้เกิดความเครียด
ดังนั้นหากการปล่อยให้การพัฒนาการของจิตใจหยุดลงไปนั้น ก็จะทำให้สุขภาพเรานั้นย้ำแย่ลงไปด้วย ทั้งนีทั้งนั้นควรจะใส่ใจกับสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อที่จะทำให้มีความสุขทั้งกายและใจ

 

 

องค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้นมาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่

30

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายคนคงเข้าใจว่าเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาทักษะและการพัฒนาความสามารถ ของพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น โดยอาศัยผ่านระบบการศึกษา การพัฒนา และการฝึกอบรม ซึ่งเป็นการพัฒนาในระยะสั้นๆ เท่านั้นเองปัจจุบันองค์การถูกท้าทายด้วยระบบโลกาภิวัฒน์ อันนำมาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และการเอารัดเอาเปรียบทุกรูปแบบเพื่อชัยชนะในด้านต่างๆ จึงส่งผลทำให้ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารใหม่ภายใต้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ด้านบุคลากรในองค์การเพื่อรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การบริหารงานเชิงกลยุทธ์นั้นผู้บริหารต้องเริ่มต้นจากการ ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ขององค์การที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียนประการที่สองวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การทั้งภายนอกและภายใน ประการที่สามสร้างวิสัยทัศน์ใหม่และพร้อมทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ ประการที่สี่ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนทัศนคติที่เคยมองบุคลากรเป็น Assets ให้เป็นการ Human Capitals ประการที่ห้าต้องปรับกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ ประการที่หกผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยน บทบาทใหม่จากที่เคยสั่งการ ถือระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ให้กลายมาเป็นผู้บริหารแบบสร้างการเปลี่ยนแปลง เน้นการสร้างความยืดหยุ่นการทำงานอย่างเป็นระบบ ประการที่เจ็ดนำแนวทางทั้ง 6 ประการข้างต้นมาบูรณาการและสร้างโมเดลใหม่ให้เกิดขึ้นภายในองค์การ จากการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ทั้ง 7 ประการ เป็นเพียงบันไดขั้นต้นเท่านั้นในการที่จะทำให้องค์การเกิดผลลัพธ์ที่ดีในปัจจุบันและในอนาคต

ดังนั้น ผู้บริหารองค์การจะต้องนำเอารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในข้างต้น มาหาวิธีในการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ โดยที่ผู้บริหารและองค์การต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน และหากเป็นเช่นนี้แล้ว การพัฒนาบุคลากรแนวใหม่จึงจะต้องเริ่มต้นจากการการพัฒนาบุคลากรใน 3 มิติ ได้แก่ มิติแรก การพัฒนาทัศนคติ (Attitude) คือ การทำให้บุคลากรเปลี่ยนวิธีคิด และการทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ มิติสอง การพัฒนาลักษณะนิสัย (Traits) คือ ทำให้บุคลากรมีความรักความผูกพันกับองค์การ มิติสาม การพัฒนาการจูงใจ(Motivation) คือ การสร้างแรงจูใจให้กับบุคลากรทั้งในรูปของเงินเดือน ค่าจ้างสวัสดิการ และตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ฯลฯ